02 ธันวาคม 2551

ปิดรับข้อมูลแล้วนะคะเพื่อนๆ

หมดเขตรับข้อมูลทางอินเตอร์เนตแล้วนะคะ

ตอนนี้ขอให้เพื่อนๆ ไปหาข้อมูลทางหนังสือบ้างนะคะ

หมดเขตวันเสาร์ ก่อนเที่ยงนะคะ

ส่งข้อมูลที่ฟร้อนนะคะ

30 พฤศจิกายน 2551

สำรวมจากการดื่มน้ำเมาหมายถึงอะไร น้ำเมา โดยทั่วไปหมายถึงเหล้า แต่ในที่นี้หมายถึง ของมึนเมาให้โทษทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำหรือแห้ง รวมทั่งสิ่งเสพย์ติดทุกชนิด ดื่ม ในที่นี้หมายถึงการทำให้ซึมซาบเข้าไปในร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธี ดื่ม ดม อัด นัตถุ์ สูบ ฉีด ก็ตาม สำรวม หมายถึง ระมัดระวังในนัยหนึ่ง และเว้นขาดในอีกนัยหนึ่ง
เหตุที่ใช้คำว่าสำรวม พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประเภทมีเหตุผล บางศาสนาเห็นโทษของเหล้า เห็นโทษของแอลกอฮอล์ เพราะฉะนั้นนอกจากห้ามดื่มแล้วเอามาทาแผลก็ไม่ได้ คนตายแล้วเอาแอลกอฮอล์มาเช็ดล้างศพก็ไม่ได้เพราะเป็นของบาป แต่ในพระพุทธศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามเหมารวมหมดอย่างนั้น เพราะ ทรงมองเห็นว่าเหล้าหรือสิ่งเสพย์ติดแม้จะมีโทษมหันต์ แต่ในบางกรณีก็อาจนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ เช่น ใช้ฉีดระงับความเจ็บปวด หรือยาบางอย่างต้องอาศัยเหล้าสกัดเอาตัวยาออกมาเพื่อใช้รักษาโรค คือเอาเหล้าเพียงเล็กน้อยมาเป็นกระสายยา ไม่มีรสไม่มีกลิ่นเหล้าคงอยู่ อย่างนี้ในพระพุทธศาสนาไม่ได้ห้าม แต่บางคนที่อยากจะดื่มเหล้าแล้วหาข้ออ้างนำเหล้ามาทั้งขวด เอายาใส่ไปนิดหน่อยอย่างนั้นเป็นการเอายามากระสายเหล้า ใช้ไม่ได้ โดยสรุปสำรวมจากการดื่มน้ำเมา จึงหมายถึง การระมัดระวังเมื่อใช้สิ่งเสพย์ติดทั้งหลายในการรักษาโรค และเว้นขาดจากการเสพสิ่งเสพย์ติดให้โทษทุกชนิดไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม
โทษของการดื่มน้ำเมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรุปโทษของการดื่มสุราไว้ ๖ ประการคือ ๑.ทำให้เสียทรัพย์ เพราะไหนจะต้องซื้อเหล้ามาดื่มเอง ไหนจะต้องเลี้ยงเพื่อน งานการก็ไม่ได้ทำ ดังนั้น แม้เป็นมหาเศรษฐี ถ้าติดเหล้า ก็อาจจะล่มจมได้ ๒.ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท เพราะกินเหล้าแล้วขาดสติไม่สามารถควบคุมตนเองได้ จะเห็นได้ว่าในวงเหล้ามักจะมีเรื่องชกต่อย ตีรันฟันแทงอยู่เสมอ เพื่อนรักกัน พอเหล้าเข้าปากประเดี๋ยวเดียวก็ฆ่ากันเสียแล้ว ๓.ทำให้เกิดโรคหลายอย่าง ทั้งโรคตับแข็ง โรคกระเพาะ โรคหัวใจ โรคเส้นโลหิตในสมองแตก โรคทางระบบประสาท ฯลฯ ๔.ทำให้เสียชื่อเสียง เพราะไปทำสิ่งที่ไม่ดีเข้า ใครรู้ว่าเป็นคนขี้เมาก็จะดูถูกเหยียดหยาม ไม่มีใครไว้วางใจ ๕.ทำให้แสดงอุจาดขาดความละอาย พอเมาแล้วอะไรที่ไม่กล้าทำก็ทำได้ จะนอนอยู่กลางถนน จะเอะอะโวยวาย จะถอดเสื้อผ้าในที่สาธารณะทำได้ทั้งนั้น ๖.ทำให้สติปัญญาเสื่อมถอย พอเมาแล้ว จะคิดอะไรก็คิดไม่ออก อ่านหนังสือก็ไม่ถูก พูดจาวกวน พอดื่มหนักๆ เข้าอีกหน่อยก็กลายเป็นคนหลงลืม ปัญญาเสื่อม “เหล้าจึงผลาญทุกสิ่งทุกอย่าง ผลาญทรัพย์ ผลาญไมตรี ผลาญสุขภาพ ผลาญเกียรติยศ ผลาญศักดิ์ศรี ผลาญสติปัญญา” การดื่มเหล้านั้น ทำให้เกิดความสุขได้บ้างสำหรับคนที่ติด แต่เป็นความสุขหลอกๆ บนความทุกข์ เหล้าทำให้เพลินเพลิน แต่เป็นการเพลิดเพลินในเรื่องเศร้า การดื่มน้ำเมามอมตัวเองวันแล้ววันเล่า จึงเป็นการบั่นทอนทุกสิ่งทุกอย่างของตนเองแม้ที่สุดความสุขทางใจ ที่คนเมาเห็นว่าตนได้จากการเสพสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็เป็นความสุขจอมปลอม
โทษข้ามภพข้ามชาติของการดื่มสุรา เหล้าไม่ได้มีโทษเฉพาะชาตินี้เท่านั้น แต่ยังมีโทษติดตัวผู้ดื่มไปข้ามภพข้ามชาติมากมายหลายประการ ตัวอย่างเช่น ๑.ทำให้เกิดเป็นคนใบ้ พวกนี้ตายในขณะเมาเหล้า คนที่เมาเหล้ากำลังได้ที่ ลิ้นจุกปากกันทั้งนั้น พูดไม่รู้เรื่อง ได้แต่ส่งเสียง “แบะๆ” พอตายแล้วก็ตกนรก จากนั้นกลับมาเกิดใหม่ กรรมยังติดตามมา เลยเป็นใบ้ ๒.ทำให้เกิดเป็นคนบ้า พวกนี้ภพในอดีตดื่มเหล้ามามาก เวลาเมาก็มีประสาทหลอน เวรนั้นติดตัวมา ในภพชาตินี้เกิดมาก็เป็นบ้า อยู่ดีๆ ก็ได้ยินเสียงคนมากระซิบบ้างเห็นภาพหลอนว่าคนนั้นคนนี้จะมาฆ่าบ้าง ๓.ทำให้เกิดเป็นคนปัญญาอ่อน พวกที่ดื่มเหล้าจัดๆ ตอนเมาก็คิดอะไรไม่ออกอยู่แล้ว ด้วยเวรสุรานี้ก็ส่งผลให้เกิดเป็นคนปัญญาอ่อน ๔.ทำให้เกิดเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ไม่ว่าจะเป็นตะกวด งู เหี้ย มาจากพวกขี้เมาทั้งนั้น พวกนี้ซ้อมคลานมาตั้งแต่ตอนเป็นคนพอตายเข้าได้คลานสมใจนึก
วิธีเลิกเหล้าให้ได้เด็ดขาด ๑.ตรองให้เห็นโทษ ว่าสุรามีโทษมหันต์ดังได้กล่าวมาแล้ว ๒.ตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะเลิกโดยเด็ดขาด ให้สัจจะกับผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ หรือกับพระ ๓.สิ่งใดที่จะเป็นสื่อให้คิดถึงเหล้า เช่น ภาพโฆษณา เหล้วตัวอย่างขนไปทิ้งให้หมด ถือเป็นของเสนียด นำอัปรีย์จัญไรมาให้บ้าน ๔.นึกถึงศักดิ์ศรีตัวเองให้มากว่า เราเป็นชาวพุทธ เป็นลูกพระพุทธเจ้า เป็นศิษย์มีครู เป็นคนมีเกียรติยศ เป็นทายาทมีตระกูล นึกถึงศักดิ์ศรีตัวเองอย่างนี้แล้วจะได้เลิกเหล้าได้ ๕.เพื่อนขี้เหล้าขี้ยาทั้งหลาย เลิกคบให้หมด ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเขาก็มาชวนเราไปดื่มเหล้าอีก ข้อนี้สำคัญที่สุด ตราบใดยังเลิกคบเพื่อนขี้เหล้าไม่ได้ จะไม่มีทางเลิกเหล้าได้เลย
อานิสงส์การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑.ทำให้เป็นคนมีสติดี ๒.ทำให้ไม่ลุ่มหลง ไม่มัวเมา ๓.ทำให้ไม่มีความรำคาญ ไม่มีใครริษยา ๔.ทำให้รู้กิจการทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคตได้รวดเร็ว ๕.ทำให้ไม่เป็นบ้า ไม่เป็นใบ้ ไม่เป็นคนปัญญาอ่อน ๖.ทำให้มีแต่ความสุข มีแต่คนนับถือยำเกรง ๗.ทำให้มีชื่อเสียง เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป ๘.ทำให้มีความกตัญญูกตเวที ๙.ทำให้ไม่พูดโกหก ไม่พูดส่อเสียด ๑๐.ทำให้ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑๑.ทำให้มีหิริโอตตัปปะ ๑๒.ทำให้มีความเห็นถูก มีปัญญามาก ๑๓.ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย

ที่มาhttp://www1.freehostingguru.com/thaigenx/mongkhol/mk20.htm

ผู้ทำ สุวรรณี วารินกุด
1. สุรา ไม่ใช่สินค้าธรรมดา
สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดาเหมือนสินค้าอื่น ๆ ทั่วไป เนื่องจากสุราเป็นสินค้าที่มีโทษมาก ตั้งแต่ความเป็นสารพิษทำลายอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมากมาย ความสามารถก่อให้เกิดอาการเมา ซึ่งทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท อุบัติเหตุตามมาอีกมากมาย ตลอดจนความสามารถก่อให้เกิดการเสพติดทำให้ต้องดื่มต่อเนื่องเลิกได้ยาก ยิ่งทำให้ปัญหาต่าง ๆ เรื้อรังยากจะเยียวยา
a. โทษของแอลกอฮอล์มีมากมาย ได้แก่
i) ความเป็นพิษ (Toxicity)
1. กรณีของการดื่มแบบเมาหัวราน้ำ ( ดื่มมากในเวลาสั้น ) สามารถทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบ หัวใจเต้นผิดปกติ บางครั้งทำให้เกิดความตาย
2. ในกรณีที่ผู้ที่ดื่มหนักอยู่แล้ว มาดื่มแบบหัวราน้ำ อาจทำให้ตับที่เสียบางส่วนกลายเป็นตับวายได้
3. กรณีดื่มหนักต่อเนื่อง สามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เช่นมะเร็งเต้านม มะเร็งปาก มะเร็งช่องคอ มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร และโรคตับแข็ง
4. ความเป็นพิษอื่น ๆ ได้แก่ อาจทำให้เกิดความผิดปกติหลาย ๆ ชนิด เช่น ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ , หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ , ตับอักเสบเฉียบพลัน , ความดันโลหิตสูง ซึ่งเสี่ยงต่อปัญหาเลือดไปเลี้ยงสมอง , กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง , เส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ , สมองถูกทำลายแบบเฉียบพลัน เป็นต้น ; ความเป็นพิษต่อกรณีแม่ที่ดื่ม เกิดผลกลุ่มอาการผลกระทบจากแอลกอฮอล์ในเด็กทารก (Fetal Alcohol Syndrome) ซึ่งมีอาการหลายอย่าง เช่น พิการทางหู เติบโตช้า โรคหัวใจ และมีความผิดปกติของใบหน้า
ii) ผลกระทบจากการเมา (Intoxication)
ผลกระทบจากการเมาเพิ่งถูกตระหนักว่า สำคัญหลังจากมีหลักฐานมากมายซึ่งอยู่ในช่วงทศวรรษที่ 1970s หลังจากที่แต่ก่อนตระหนักเพียงว่า ปัญหาของสุราเกิดกับผู้ที่ติดสุราเท่านั้น
ผลกระทบจากการเมามีหลายประการ ได้แก่
1. ความผิดปกติของการทำงานของจิตกับกาย (Psychomotor impairment) เช่น การทรงตัว การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้
2. เวลาของปฏิกิริยาการตอบสนองยาวขึ้น เป็นตัวอย่างของการเกิดอุบัติเหตุที่ชัดเจนมาก
3. การตัดสินใจไม่ดี ทำให้กล้าตัดสินใจ ขับรถแบบผาดโผน เสี่ยงอันตราย
4. ทำให้อารมณ์เปลี่ยน และลดความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้เกิดโอกาสของการทะเลาะวิวาทได้มากขึ้น
iii) ภาวะติดสุรา (Dependence)
ภาวะติดสุราทำให้เกิดวงจร “ ดื่มมากทำให้ติด ติดแล้วทำให้ดื่มมาก เป็นวงจรไม่สิ้นสุด ซึ่งยิ่งดื่มมากผลกระทบก็จะมาก ทั้งจากโรคต่าง ๆ ทั้งกายและจิต และผลจากการเมา
b) โทษของแอลกอฮอล์เหล่านี้ส่งผลกระทบหลายประการ ได้แก่ การทะเลาะวิวาท , ความรุนแรงในครอบครัว , ความรุนแรงนอกครอบครัว , อาชญากรรม , ปัญหาสุขภาพ ทั้งกายและจิตประสาท , อุบัติเหตุ
ที่มาhttp://www.kalyanamitra.org/daily/dhamma/index.php?option=com_content&task=view&id=79&Itemid=99999999

ผู้ทำ สุวรรณี วารินกุด
โทษของแอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์นั้น นักเคมีเรียก ethyl alcohol หรือ ethanol (CH3CH2OH) แอลกอฮอล์ธรรมชาติเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลงเหลือจากการหมัก มนุษย์เรารู้จักแอลกอฮอล์มานานนับพันปีแล้ว ในรูปแบบของเหล้าองุ่น เบียร์ และนํ้าผึ้ง ในสมัยคริสต์ศตวรรษ ที่ 16 นักกายวิภาคศาสตร์ชื่อ Vesalius ได้ตรวจพบว่า คนที่ดื่มแอลกอฮอล์มากมักจะเป็นโรคร้ายนานาชนิดที่สําคัญๆ ได้แก่ โรคตับวาย เป็นต้นคนติด สรุายาเมามักจะเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายมะเร็งกระเพาะ ตับแข็งและเส้นเลือดในสมองแตก คนขับรถที่เมามักจะขาดพลังควบคุมสติสัมปชัญญะ ทําให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน หญิงมีครรภ์ที่ดื่มแอลกอฮอล์จะแท้งลูกในท้อง หรือหากไม่แท้งทารกที่คลอดออกมาจะมีร่างกายและสติปัญญาที่บกพร่อง ภัยอันตรายทั้งหลายเหล่านี้ทําให้แพทย์สรุปได้ว่า แอลกอฮอล์เป็นสาเหตุสําคัญอันดับสองรองจากบุหรี่ที่ทําให้คนเราเสียชีวิตก่อนถึงเวลาอันควรงานวิจัยของ Pakhen Erg แห่ง Neurological Research Laboratory ที่เดนมาร์ก ฉบับที่ตีพิมพ์ในวารสาร Lancet ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ได้ชี้ให้เห็นว่า แอลกอฮอล์มิได้ฆ่าหรือทําลายเซลล์ประสาทในสมองแต่อย่างใด มันเพียงแต่ทําให้เนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทเหล่านั้นเสื่อมสมรรถภาพเท่านั้นเอง เขาพบว่า จํานวนเซลล์เนื้อเยื่อในสมองของคนติดเหล้าจะน้อยกว่าจํานวนเซลล์เนื้อเยื่อในสมองของคนไม่กินเหล้า 11%และในสมองส่วนที่ทําหน้าที่จํานั้น จํานวนเซลล์เนื้อเยื่อสมองของคนติดเหล้าน้อยกว่าของคนที่ไม่ติดเหล้า 80%
กลไกการออกฤทธิ์ต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายการออกฤทธิ์ของสุรา คนส่วนมากมักเข้าใจผิดว่าสุรานั้นจะออกฤทธิ์ต่อร่างกายเมื่อถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วมันออกฤทธ์ทำลายตั้งแต่อวัยวะแรกที่สำผัสจนตลอดตามเส้นทางเดินของสุราที่ผ่านเข้ามาในร่างกาย ซึ่งสามารถอธิบายตามลำดับขั้นตอนได้ดังต่อไปนี้1.ปากและลำคอ เมื่อสุราเข้าปากและลำคอจะไปออกฤทธิ์ต่อผิวอวัยวะภายในช่องปากทำให้เกิดการระคายเคืองชิ้นเยื่อบุที่ละเอียดอ่อนในปากและหลอดอาหาร มักมีอาการร้อนซู่เมื่อผ่านลงไป2.กระเพาะอาหารและลำไส้ สุราเมื่อผ่านลงสู่กระเพาะจะมีผลกับผนังชั้นนอกสุดที่เป็นชั้นที่จะปกป้องกระเพาะอาหาร จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ถ้าอาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันเกิดอาการอักเสบของเยื่อบุชั้นในสุดของผนังหรือกระเพาะอาหารหรืออาจทะลุลำไส้เล็กได้ นอกจากนั้นสุรายังเป็นอุปสรรคกับการดูดซึมอาหารบางชนิด เช่น วิตามินB1, กรดโฟลิก ,ไขมัน วิตามินบี6,วิตามินบี 12 และกรดอะมิโนต่าง ๆ3.กระแสเลือด ร้อยละ95 ของสุราที่เข้าสู่ในร่างกาย จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด โดยผ่านเยื่อบุในกระเพาะอาหาร และลำไส้ส่วนดูโอดีนั่มอย่างรวดเร็ว เมื่อถึงกระแสเลือดจะเข้าไปในเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆในร่างกายอย่างรวดเร็ว แอลกอฮอล์ทำให้เซลล์ของเลือดเกาะเป็นก้อนเหนียว การไหลเวียนจึงช้าลง และปริมาณออกซิเจนลดต่ำลงด้วย สุราทำให้โลหิตจาง โดยจะไปลดการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ความเม็ดเลือดขาวทำลายแบคทีเรียช้าลง และทำให้การแข็งตัวของเกล็ดเลือดช้าลงด้วย4. ตับอ่อน แอลกอฮอล์จะทำให้เซลล์ของตับอ่อนระคายเคือง และบวมขึ้น สุราทำให้การไหลของน้ำย่อยไม่สามารถที่จะเข้าไปในลำไส้เล็กได้ ทำให้น้ำย่อยย่อยตัวตับอ่อนเอง ทำให้เกิดเลือดออกอย่างเฉียบพลันและการอักเสบของตับอ่อน พบว่า 1ใน5 จะเสียชีวิตไปในครั้งแรก เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับตับอ่อน การสร้างอินซูลินขาดหายไป และทำให้เป็นเบาหวานในที่สุด5. ตับ แอลกอฮอล์มีอิทธิพลต่อเซลล์ของตับ ทำให้เกิดการบวม ทำให้น้ำดีซึมผ่านไปทั่วตับ เป็นเหตุให้ตัวเหลือง รวมทั้งส่วนขอบตาและผิวหนังเป็นสีเหลืองด้วย ทุกครั้งที่ดื่มสุรานั้น เซลล์ของตับจะถูกทำลายเป็นผลให้ตับแข็ง การเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับมีถึง 8 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มสุรา6. หัวใจ แอลกอฮอล์ทำให้กล้ามเนื้อของหัวใจบวม ทำให้เกิดเป็นพิษกับหัวใจมีการสะสมของไขมันมากขึ้น และทำให้การเผาผลาญช้าลงไปด้วย7. กระเพาะปัสสาวะและไต แอลกอฮอล์ทำให้เยื่อบุของกระเพาะปัสสาวะบวม ทำให้ไม่สามารถยืดได้ตามปกติ การระคายเคืองของไตทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น8. ต่อมเพศ ต่อมอัณฑะจะบวม ทำให้ความสามารถทางเพศลดลง9. สมอง เป็นอวัยวะที่ไวต่อฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ซึ่งเห็นได้ชัดเจน ก่อให้เกิดพิษแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง9.1 พิษแบบเฉียบพลัน ได้แก่ Alcoholic intoxication แบ่งออกเป็นพิษในระดับมากน้อยแตกต่างกันไป ตามระดับของแอลกอฮอล์ในเลือดดังนี้ระดับแอลกอฮอล์ (มิลลิกรัม/100มิลลิลิตร)30 mg% - ทำให้เกิดการสนุกสนานร่าเริง50 mg% - เสียการควบคุมการเคลื่อนไหว100 mg% - แสดงอาการเมาให้เห็น เดินไม่ตรงทาง200 mg% - เกิดอาการสับสน300 mg% - เกิดอาการง่วงซึม400 mg% - เกิดอาการสลบ และอาจถึงแก่ชีวิตได้9.2 พิษเรื้อรังแอลกอฮอล์มีพิษโดยตรงต่อสมอง ทำให้เซลล์สมองเสื่อม ในผู้ติดสุราพบว่ามีการฝ่อลีบของสมองส่วนคอร์เทกซ์ ซึ่งจะมีผลต่อการเสื่อมทางจิตด้วยหลายประการ เช่น ขาดความรับผิดชอบ ความจำเสื่อม เมื่อเป็นมากเกิดประสาทหลอน หูแว่ว หลงผิด หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง และแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดประสาท โดยกดศูนย์ควบคุมระบบต่าง ๆ เช่นกดศูนย์หายใจและศูนย์ควบคุมการไหลเวียนของโลหิตในสมอง ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

ที่มาhttp://www.pantown.com/board.php?id=15763&name=board2&topic=2&action=view
ผู้ทำ สุวรรณี วารินกุด

29 พฤศจิกายน 2551

Alcohol

โดยทั่วไปเราสามารถแบ่งแยก Alcohol ได้หลายชนิดหลายลักษณะ แต่ที่จะพูดถึงสำหรับให้ความรู้ที่ชาวบ้านๆ อย่างเราเข้าใจ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทครับ 1. Methyl Alcohol (Methanol) ไม่สามารถรับประทานได้ ทานแล้วสามารถตาบอดได้ 2. Ethyl Alcohol (Ethanol) สามารถดื่มรับประทานได้ สำหรับ Methyl Alcohol เราจะไม่พูดถึงกันนะครับ ที่เราจะพูดก็คือเจ้าเหล้า หรือ Ethyl Alcohol ที่ใครหลายคนนิยมบริโภค แม้แต่ตัวผมเองด้วยก็เถอะ Ethyl Alcohol หรือ Ethanol เป็นแอลกอฮอลล์ที่มีจำนวนคาร์บอนอะตอมในโครงสร้างอยู่สองอะตอม ประโยชน์ของมันมีมากหลายครับ ทั้งทำเป็นเหล้าให้เราดื่ม เป็นยาฆ่าเชื้อ เป็นตัวทำละลายในปฏิกริยาเคมีต่างๆ ใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซโซลีน ใช้ในการผลิตยา ใช้ในการผลิตเครื่องสำอางค์ เป็นต้น *ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ สำหรับประเทศไทยแล้ว การผลิตเหล้าสามารถทำได้ง่ายๆ ครับ ใครหลายคนที่เคยเรียน ชีวะ เรื่อง การหายใจก็คงจำได้(มั้ง) คือ Anaerobic Glycolysis หรือการหมักโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ โดยใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบซึ่งอาจเป็นน้ำตาลที่ได้จากพืชโดยตรง เช่น อ้อยหรือเป็นน้ำตาลที่ได้จากการย่อยแป้งหรือเซลลูโลส หลายคนอาจเคยเห็นในหนัง หรือในซีรีย์หลายเรื่อง ที่เขาใช้เหล้าอมเข้าปากแล้วพ่นฆ่าเชื้อ จริงๆแล้วเหล้านั้นสามารถนำมาทำเป็นยาฆ่าเชื้อได้ครับ แต่ย้ำว่าเหล้านั้นต้องมีความเข้มข้น 70% w/w (ร้อยละโดยน้ำหนัก) หลักการฆ่าเชื้อของมันก็คือ *ฆ่าเชื้อโดยการดึงน้ำออกจากเซลล์ คุณสมบัติด้านไฮโดรฟิลลิก (ชอบน้ำ) ทำให้มันแทรก lipid bilayer เข้าไปอยู่ระหว่าง cell membraneได้ และ -OH group ไปจับตัวกับโปรตีนตรง C=O ทำให้เกิด denature (ปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางโมเลกุล) ถ้าเข้มข้นมากๆ (เกิน 80%) การดูดน้ำจะเกิดขึ้นเร็วจนเซลล์ที่อยู่ด้านบนๆ จะกลายเป็นเกราะ ป้องกันไม่ให้แอลกอฮอล์ซึมลงด้านล่าง ลดคุณสมบัติในการทำลายเชื้อ แต่ถ้าน้อยกว่า 40% ปริมาณแอลกอฮอล์ก็น้อยเกินกว่าจะดูดน้ำจนฆ่าเชื้อได้ผล **เพิ่มเติม การคิดดีกรีของแอลกอฮอล์ ดีกรี หมายถึง หน่วยวัดความเข้มข้น คิดเป็น เปอร์เซนต์ของปริมาณแอลกอฮอล์ที่มีอยู่ในเครื่องดื่ม จะมีค่าเทียบเท่ากับหน่วย Gay-Lussac (GL) ซึ่งเราๆ ท่าน ๆ เคยอ่านข้างขวดที่เค้าเขียนไว้เช่น 43ดีกรี (= 43 GL = 43%) และแอลกอฮอล์ 1ซีซี จะเท่ากับน้ำหนัก 0.98 กรัม 43 % (43 ดีกรี,43GL) หมายความว่า เหล้า 100 ซีซี มีแอลกอฮอล์ 43 ซีซี ย่อมมี alcohol (0.98 x 43) = 42.14 กรัม ถ้าจะดื่มแอลกอฮอล์ ในระดับที่ปลอดภัยในเพศชาย ไม่ควรดื่มเกิน 30 กรัม/วัน คือ (100x30)/42.14 = 71.19 ซีซี / วัน เพศหญิงถ้าไม่เกิน 20 กรัม ก็ (100x20)/42.14 = 47.46 ซีซี / วัน ดังนั้น เราสามารถคำนวณแอลกอฮอล์ในระดับที่ปลอดภัย คือผู้ชาย ไม่เกิน 30 กรัม ผู้หญิงไม่เกิน 20 กรัม ในเหล้าทุกแบบ ทุกยี่ห้อ ที่ชอบตามความเข้มข้น ซึ่งมักจะเขียนไว้ข้างขวด

เหล้าเข้าปากแล้วจะเจออะไรบ้าง..? *สารพวกแอลกอฮอล์ เมื่อผ่านเข้าสู่ทางเดินอาหารแล้ว ที่แรกที่จะย่อยหรือสลายโมเลกุลของแอลกอฮอล์ไปใช้ ก็คือ กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก Ethanol จะถูกดูดซึมโดยวิธี passive diffusion (แพร่) ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ได้โดยตรง จากนั้นethanolจะถูก metabolized โดยเส้นทางต่างๆ ดังนี้ 1. <5%>95% ของ ingested ethanol จะเข้าสู่ blood circulation (ระบบไหลเวียนเลือด), ซึ่ง ethanol ในกระแสเลือดนี้ 85-98% จะถูก metabolized ที่ตับ และที่เหลืออีก 2-10% จะถูกขับออกทางลมหายใจและปัสสาวะ Ethanol metabolism (ADH=alcohol dehydrogenase, ALDH=acetaldehyde dehydrogenase, ACS=acetyl-CoA synthetase) . ที่ตับ Ethanol ส่วนใหญ่จะถูกสลายเป็น acetaldehyde และ acetate โดยอาศัยเอนไซม์ alcohol dehydrogenase และ acetaldehyde dehydrogenase ตามลำดับ (ดังภาพแสดง major route of ethanol ด้านบน) หลังจากนั้น acetate จะถูกเปลี่ยนเป็น acetyl CoA ก่อนเข้า TCA cycle (ในskeletal muscle, heart, hepatocyte, และ tissue อื่นๆ) ต่อไป นอกจากนี้ Alcohol ยังถูก metabolized ที่ตับโดย enzyme cytochrome P450IIE1 (CYP2E1) อีกตัวหนึ่ง ซึ่งจะพบมากขึ้นในคนที่ดื่ม เรื้อรัง alcohol บางส่วนจะไม่ถูก metabolize และตรวจพบได้ทางลมหายใจ และปัสสาวะ

เหล้าทำให้เมาได้ยังไงหนอ..? เวลาแอลกอฮอล์ดื่มไปแล้วจะเข้าสู้กระแสเลือด (จากข้อ 2 หัวข้อด้านบน) ระบบไหลเวียนเลือดของร่างกายก็จะส่งเลือดที่มีปริมาณแอลกอฮอล์สูงนี้ ไปยังสมองทำให้สมองสั่งการช้า และเกิดอาการข้างเคียงตามสเตปดังนี้ 1. Disinhibition of normal social functioning (excessive talking, showing off) - รั่ว แพล่ม พล่าม โม้ ฯลฯ 2. Loss of memory - ความจำเริ่มหาย จำอะไรไม่ค่อยได้ (เฮ้ย เมิงเป็นใครว่ะ!) 3. Confusion - เริ่มสับสนในชีวิต (ตูจะไปซ้ายหรือขวาดีเนี้ย..? แล้วตูจะไปไหนฟ่ะ..?) 4. Disorientation - เริ่มเหยิน เป๋ เหล่ เซมากรูเตะ 5. Movement not coordinated - เป๋ เหล่ เมาหัวราน้ำ สมองสั่งให้ทำอะไร ร่างกายไม่ยอมทำตาม 6. Progressive lethargy - เฉื่อย ชา อยู่นิ่ง ๆ หลับเป็นตาย อาการหนัก ๆ ที่ต้องส่งโรงหมอ 7. Coma (เริ่มชัก กรุณาอย่าคิดลึก ไอที่คิดลึก เมาแล้วไม่ต้องชัก มัน In-Out ตาม tempo ของมันเอง) - ไม่รู้จะบรรยายไงดี 8. Ultimately the shutdown of the respiratory centers - ปิดเครื่อง ชัทดาวน์ระบบหายใจแล้วก็ หงายไปในที่สุด!!! *เสริมนิดนึง ที่เราดื่มเหล้าแล้วปวดฉี่บ่อยก็เพราะว่า แอลกอฮอล์ในกระแสเลือดนี่แหละครับ มันส่งไปที่สมองส่วนท้าย ไปกระตุ้นไฮโพทลามัสไม่ให้หลั่ง Antidiuretic hormone (ADH) ทำให้ร่างกายไม่สามารถสงวนน้ำไว้ใช้ได้ เลยต้องไปปล่อยออกลูกเดียว

เหล้าทำให้ตับแข็งได้ไงอ่ะ..? อวัยวะบางอย่างของร่างกายยิ่งแข็งยิ่งดีนะครับ เช่น กระดูก เป็นต้น แต่ถ้าตับแข็งแล้วก็ ไม่ดีเอามาก ๆ เลยนะครับ มักเกิดจากผู้ป่วยที่ดื่มมานาน ๆ และมาก ๆ คือปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มมากกว่า 80 กรัมต่อวัน (คิดเป็นปริมาณเหล้า 43 ดีกรี 232 ซีซี ต่อวัน ถ้าเป็นยี่ห้ออื่นก็สามารถคำนวณได้จากสูตรข้างต้นนะครับ) และระยะเวลาที่ดื่มนานกว่า 5-8 ปี ตับเป็นอวัยวะที่ใช้ทำลายสารพิษจากอวัยวะหรือเซลล์ต่างๆ สารพิษแทบทุกชนิดจะถูกทำลายที่ตับ แอลกอฮอล์ก็เช่นกัน ตับจะมีเซลล์ที่ทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคคล้าย Macrophage คือ Kupffer cell ซึ่งเจ้า Kupffer cell นี้สร้างที่ตับ ยิ่งมีปริมาณสารพิษ (แอลกอฮอล์) ในตับมาก ตับก็ต้องสร้างเซลล์เหล่านี้มากำจัดเชื้อโรค เทียบง่ายๆ คือ ให้ตับเป็นฮาร์ดแวร์อย่างหนึ่ง คุณดื่มแอลกอฮอล์ไปโอเวอร์คล็อกมัน มันก็พังเร็วยิ่งขึ้น เมื่อเซลล์ตับตายลง ๆ เรื่อยๆ ตับก็จะเริ่มแข็ง เกิดแผลที่ตับ การเป็นผังผืดมาแทนที่ แม้ว่าตับจะสามารถสร้างเซลล์ขึ้นทดแทนได้บางส่วน ก็ไม่สามารถทดแทนเซลล์เก่าได้ ทำให้ตับทำงานผิดปรกติ ทำงานน้อยลง และเซลล์ที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ อาจจะกลายเป็นมะเร็งต่อไปได้อาการแสดงก็คล้ายกับโรคตับอักเสบ จากแอลกอฮอล์แต่มักไม่มีไข้ (ยกเว้นติดเชื้อแทรกซ้อน) อาจจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มือแดงมาก ลูกอัณฑะฝ่อ ต่อมน้ำลายโต จากฮอร์โมน ผิดปรกติ เมื่อเป็นโรคนี้แล้วอัตราการตายจะสูงสุดช่วง 1 ปีแรก ตายเร็วหรือช้าขึ้นกับ - ผู้ป่วยสามารถหยุดดื่มแอลกอฮอล์ได้หรือไม่ ถ้าหยุดดื่มได้ โอกาสรอดก็สูง - ถ้ามีอาการแทรกซ้อนมาก โอกาสจะเสียชีวิตมีสูง เช่น ท้องมาก เลือดออกผิดปรกติ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่าน แม้ไม่อ่าน แค่คุรคิดถึง เราก็พึงดีใจแล้วครับ เห็นเป็นประโยชน์ต่อชาว SS ทุกคน ยังไงก็อย่าดื่มเกิน 232 cc ต่อวัน

โดย ชุติมา

ที่มา http://www.soccersuck.com/soccer/viewtopic.php?p=1813648&highlight=&sid=516dc11d198d1e1cb45a6eda8c28c22b‏

ดื่มเหล้าอย่างไร ให้ห่างไกลโรคร้าย

ดื่มเหล้าอย่างไร ให้ห่างไกลโรคร้าย
ปัจจุบันไม่ว่าเทศกาลรื่นเริงหรือโศกเศร้า มักจะมีเหล้าอยู่ในงานเหล่านั้นเสมอ
เรียกได้ว่ากลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยไปเสียแล้ว การดื่มเหล้าในปริมาณเล็กน้อย
จะทำให้ครึ้มอกครึ้มใจ สนุกครื้นเครงได้ แต่หากดื่มจนควบคุมสติไม่ได้ จะทำให้ส่งผลเสียต่อ
ตนเองและบางทีทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย
จากการศึกษา พบว่าโทษของการดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้เกิด
การสะสมในร่างกายทำให้อวัยวะสำคัญต่างๆ เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว เช่น สมองจะถูกทำลาย
ความจำเสื่อม สมองฝ่อ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ทารกในครรภ์มารดาพิการ หลอดเลือดหัวใจตีบ
กระเพาะอาหารและลำไส้เกิดการอักเสบ ตับถูกทำลายทำให้ตับแข็ง และตามมาด้วยอาการดีซ่าน
หรือตัวเหลืองตาเหลือง ท้องมาน เป็นต้น
นอกจากนี้การดื่มสุราติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ทำให้ร่างกายขาดวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย
หลายชนิด โดยเฉพาะวิตามิน บี ซึ่งจำเป็นต่อการบำรุงระบบประสาทและรักษาสมดุลการเผาผลาญใน
ร่างกาย การดื่มสุราจะไปลดความอยากรับประทานอาหาร ทำให้รับประทานได้น้อยลง ส่งผลให้ร่างกาย
มีโอกาสขาดสารอาหารสูงกว่าคนปกติ นอกจากนั้น แอลกอฮอล์ยังไปเพิ่มการใช้วิตามิน บีในร่างกายเพื่อการ
เผาผลาญ ขณะเดียวกันก็ไปลดการดูดซึมวิตามินบีเข้าสู่ร่างกายด้วย ดังนั้นผู้ที่ดื่มเหล้าเป็นประจำมีโอกาส
ขาดวิตามิน บี สูงมาก อาการที่แสดงให้เห็น ได้แก่ อาการเหน็บชา สมองไม่ปลอดโปร่ง ความคิดและการตอบ
สนองช้าลง และเมาค้างในตอนเช้า
ผู้ที่ดื่มเหล้าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับประทาน วิตามิน บี เสริมในปริมาณสูง
ผลกระทบของพิษแอลกอฮอล์ที่มีต่อตับสามารถแบ่งได้ 3 ระยะ คือ
1. ภาวะไขมันสะสมในตับ เป็นระยะแรกของการเกิดปัญหากับตับจากการดื่มแอลลกอฮอล์ โดยเป็น
การสะสมของไตรกลีเซอร์ไรด์ ซึ่งระยะนี้ยังไม่แสดงอาการใดๆ
2. ตับอักเสบ เริ่มมีอาการจุกแน่นบริเวณชายโครงขวา ตัวเหลือง ไข้สูงตลอดจนตับวายได้ และมีอาการ
ทางสมอง คือสับสนวุ่นวาย หรือหมดสติ
3. ตับแข็ง เป็นระยะสุดท้าย ที่พบว่าจะมีพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง
ท้องมานหรือมีน้ำคั่งในช่องท้อง หรืออาเจียนเป็นเลือดสดๆ
ผู้ที่ดื่มเหล้าจำเป็นต้องรับประทานวิตามิน บีเสริมแล้ว ควรจะรับประทานเสริมสารสกัดธรรมชาติที่
ช่วยฟื้นฟูสภาพเซลล์ตับให้ดีขึ้น และเพิ่มปริสิทธิภาพการกำจัดสารพิษ และการเผาผลาญของตับ อีกด้วย ได้แก่
- รากของสมุนไพรแดนดิเลียน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตับ ทำให้ตับหลั่งน้ำดีมาย่อยอาหาร
ประเภทไขมันได้ดีขึ้น และช่วยลดผลข้างเคียงจากยาที่ถูกทำลายที่ตับ ป้องกันความบกพร่องของระบบการทำงาน
ของตับ
- เมทไธโอนีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จับกับโลหะหนักที่เป็นพิษต่อตับได้ ช่วยชะลอการเสื่อมของเนื้อตับ
และยังมีส่วนในการสังเคราะห์โปรตีนและสารที่จำเป็นต่อขบวนการขจัดพิษที่ตับ เช่น กลูตาไธโอน
- ซิลิเนียม เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ไปจับกับสารพิษต่างๆโดยเฉพาะโลหะหนัก และยังเพิ่มประสิทธิภาพ
การทำงานของเอนไซม์ขจัดสารพิษของตับ ช่วยลดความรุนแรงของปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดพิษต่อตับได้
- น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล ประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นหลายชนิดในการเผาผลาญอาหาร
ช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมัน และช่วยปรับสมดุลกรดด่างในลำไส้ ลดปัญหา
อาหารไม่ย่อย ท้องอืดจึงช่วยลดภาวะการติดเชื้อในลำไส้ได้
- เลซิติน เป็นสารสกัดจากถั่วเหลือง จะมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตับ เนื่องจากสารสำคัญใน
เลซิตินที่ชื่อว่า ฟอสฟาติดิลโคลีน จะเป็นสารตั้งต้นที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้รับสารเคมี สารพิษ ยา และแอลกอฮอล์
รวมทั้งฟอสฟาติดิลโคลีนในเลซิติน จะช่วยซ่อมแซมและลดการทำลายเซลล์ตับ จึงช่วยป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับตับจาก
การดื่มแออกอฮอล์ได้ ดังนั้นการได้รับเลซิตินที่เพียงพอจะมีส่วนช่วยให้การทำงานของตับเป็นไปอย่างปกติ ควรรับประทาน
เลซิตินในปริมาณ 1,200 - 3,600 มิลลิกรัม/วัน

ในทางการแพทย์ แนะนำว่าหากท่านชอบดื่มเหล้า ไม่ควรเกิน 2 - 3 ฝาต่วัน ท่านที่ชอบดื่มเบียร์ก็ไม่ควรเกินวันละ
1 กระป๋อง และสำหรับท่านที่ชอบดื่มไวน์ ควรดื่มเพียงวันละ 1 แก้ว

ที่มา http://creamacne.weloveshopping.com/shop/show_article.php?shopid=18149&qid=37494‏

วิธีแก้ไข

เทคนิค บอกลา เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์
ข้อแรก ให้ลองเขียนเหตุผลว่าทำไมจึงควรหยุดดื่มเหล้า อาจขอความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว หรือเพื่อนสนิท ลิสต์รายการเหล่านี้จะช่วยเตือนสติยามที่ความตั้งใจของคุณอ่อนลง
ข้อสอง เป็นการลงมือทำความตั้งใจ โดยกำหนดวันที่จะเริ่มหยุดดื่ม เขียนวันที่ตั้งใจจะเริ่มหยุดดื่มใส่กระดาษแปะไว้ที่ตู้เย็น หรือกระจกในห้องน้ำ หรือที่ใดก็ตามที่เห็นได้บ่อย ถัดมา ให้บอกความตั้งใจของคุณให้คนอื่นรับรู้ด้วย เช่น บอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน ๆ และบอกพวกเขาว่าเขาจะช่วยให้คุณทำตามความตั้งใจให้สำเร็จได้อย่างไร ข้อสี่ ระหว่างที่หยุดดื่มนั้นให้หันมาดูลิสต์ รายการเหตุผลที่เขียนไว้ในข้อแรกบ่อยๆ และถ้าได้ พบประโยชน์เพิ่มก็ให้เขียนเพิ่มลงได้ ข้อห้า หากพลาดพลั้งเผลอกลับไปดื่มในระหว่างที่ตั้งใจงด ก็ให้ถือเป็นประสบการณ์เพื่อเรียนรู้และเริ่มต้นใหม่ด้วยความตั้งใจที่มากกว่าเดิม ข้อหก หลังประสบความสำเร็จในการหยุดดื่มในช่วงเวลาที่ตั้งใจไว้ จงทำมันอีกครั้ง โดยต่อเวลาออกไปอีก อาจลองหยุดอีก 3 เดือน เมื่อทำไปเรื่อยๆ มันก็จะกลายเป็นความเคยชิน ข้อเจ็ด หากความตั้งใจหยุดดื่มนั้นไม่สำเร็จอาจลองปรึกษาแพทย์เพื่อให้ช่วยคุณอีกทางหนึ่ง ข้อแปด อีกวิธีที่อาจช่วยได้คือหลีกเลี่ยงสิ่งใดก็ตามที่จะทำลายความตั้งใจของคุณ นั่นหมายถึงว่าอาจต้องเปลี่ยนชีวิตที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ คบเพื่อนใหม่ ใช้ชีวิตแบบใหม่ที่ต่างไปโดยสิ้นเชิง ข้อเก้า เล็งเป้าหมายของคุณให้แม่นๆ และคุณจะประสบความสำเร็จในที่สุด.

ที่มา http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=phuengnoi&jnId=59367
ผู้ทำ กัญชาลิชา

28 พฤศจิกายน 2551

สาเหตุการติดแอลกอฮอล์

หลักการและเหตุผล ปัญหาสำคัญในการบำบัดรักษาผู้ที่ ประสบปัญหาจากแอลกอฮอล์ คือ การที่ผู้ป่วยกลับไปดื่มหรือติดแอลกอฮอล์ซ้ำเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากครอบครัวให้การดูแลไม่เหมาะสม ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาว่า มีปัจจัยใดบ้างที่จะส่งผลให้ญาติมีพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการให้บริการผู้ป่วยแอลกอฮอล์ของโรงพยาบาลราชบุรีต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษา ระดับความรู้เกี่ยวกับภาวะการณ์ ติดแอลกอฮอล์ ความตระหนักในบทบาทของการเป็นผู้ดูแล สัมพันธภาพระหว่างญาติผู้ดูแลกับผู้ป่วย แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์ของญาติผู้ดูแล 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์ของญาติ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สภาพเศรษฐกิจของครอบครัว ความเกี่ยวข้องกับผู้ป่วย และจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ให้ความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วย 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์ของญาติผู้ดูแลเรียงตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่ถูกนำเข้าสมการ ขอบเขตการวิจัย ประชากรเป็นญาติที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย แอลกอฮอล์ที่เข้ามารักษาในกลุ่มงานจิตเวชโรงพยาบาลราชบุรี ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 204 คน กำหนดขนาดโดยการคำนวณจากสูตรของยามาเน ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบมีระบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรมผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิและนำไปหาค่าความเชื่อมั่น ก่อนนำมาเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, one-way anova และ stepwise multiple regression analysis ผลการวิจัย 1. กลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักในบทบาทของ การเป็นผู้ดูแล และพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์อยู่ในระดับดี มีความรู้เกี่ยวกับภาวะการติดแอลกอฮอล์ สัมพันธภาพระหว่างญาติผู้ดูแลกับผู้ป่วย และแรงสนับสนุนทางสังคม อยู่ในระดับปานกลาง 2. ญาติผู้ดูแลที่มีเพศและระดับการศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยญาติเพศหญิงมีพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์ดีกว่าญาติเพศชาย และญาติที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษามีพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์ดีกว่าญาติที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าหรือเท่ากับประถมศึกษา 3. ความตระหนักในบทบาทของการเป็นผู้ดูแล แรงสนับสนุนทางสังคม ความรู้เกี่ยวกับภาวะการติดแอลกอฮอล์ และสัมพันธภาพระหว่างญาติผู้ดูแลกับผู้ป่วย เป็นปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์ได้ร้อยละ 33.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เรียงตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่ถูกนำเข้าสมการ ข้อเสนอแนะ 1. ควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนา ศักยภาพให้กับญาติของผู้ป่วยแอลกอฮอล์ โดยเน้นในเรื่องของการสร้างความตระหนักในบทบาทของการเป็นผู้ดูแล การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะการติดแอลกอฮอล์และการเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างญาติผู้ดูแลกับผู้ป่วย 2. ควรเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมในด้านต่างๆ ให้กับญาติ ของผู้ป่วยแอลกอฮอล์ ทั้งในด้านจิตใจ ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และการอำนวยความสะดวก รวมทั้งมีการพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรสาธารณสุขในชุมชน เพื่อให้เป็นแหล่งสนับสนุนทางสังคมให้กับผู้ป่วยแอลกอฮอล์และญาติ 3. ควรติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชนหลังจากจำหน่าย มีการ เตรียมครอบครัว เพื่อนบ้านหรือกลุ่มเพื่อนร่วมงานของผู้ป่วยให้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างเหมาะสมเพื่อจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถเลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างต่อเนื่อง
โดย วนารมย์

สาเหตุการติด

หลักการและเหตุผล ปัญหาสำคัญในการบำบัดรักษาผู้ที่ ประสบปัญหาจากแอลกอฮอล์ คือ การที่ผู้ป่วยกลับไปดื่มหรือติดแอลกอฮอล์ซ้ำเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากครอบครัวให้การดูแลไม่เหมาะสม ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาว่า มีปัจจัยใดบ้างที่จะส่งผลให้ญาติมีพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการให้บริการผู้ป่วยแอลกอฮอล์ของโรงพยาบาลราชบุรีต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษา ระดับความรู้เกี่ยวกับภาวะการณ์ ติดแอลกอฮอล์ ความตระหนักในบทบาทของการเป็นผู้ดูแล สัมพันธภาพระหว่างญาติผู้ดูแลกับผู้ป่วย แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์ของญาติผู้ดูแล 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์ของญาติ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สภาพเศรษฐกิจของครอบครัว ความเกี่ยวข้องกับผู้ป่วย และจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ให้ความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วย 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์ของญาติผู้ดูแลเรียงตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่ถูกนำเข้าสมการ ขอบเขตการวิจัย ประชากรเป็นญาติที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย แอลกอฮอล์ที่เข้ามารักษาในกลุ่มงานจิตเวชโรงพยาบาลราชบุรี ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 204 คน กำหนดขนาดโดยการคำนวณจากสูตรของยามาเน ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบมีระบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรมผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิและนำไปหาค่าความเชื่อมั่น ก่อนนำมาเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, one-way anova และ stepwise multiple regression analysis ผลการวิจัย 1. กลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักในบทบาทของ การเป็นผู้ดูแล และพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์อยู่ในระดับดี มีความรู้เกี่ยวกับภาวะการติดแอลกอฮอล์ สัมพันธภาพระหว่างญาติผู้ดูแลกับผู้ป่วย และแรงสนับสนุนทางสังคม อยู่ในระดับปานกลาง 2. ญาติผู้ดูแลที่มีเพศและระดับการศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยญาติเพศหญิงมีพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์ดีกว่าญาติเพศชาย และญาติที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษามีพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์ดีกว่าญาติที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าหรือเท่ากับประถมศึกษา 3. ความตระหนักในบทบาทของการเป็นผู้ดูแล แรงสนับสนุนทางสังคม ความรู้เกี่ยวกับภาวะการติดแอลกอฮอล์ และสัมพันธภาพระหว่างญาติผู้ดูแลกับผู้ป่วย เป็นปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์ได้ร้อยละ 33.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เรียงตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่ถูกนำเข้าสมการ ข้อเสนอแนะ 1. ควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนา ศักยภาพให้กับญาติของผู้ป่วยแอลกอฮอล์ โดยเน้นในเรื่องของการสร้างความตระหนักในบทบาทของการเป็นผู้ดูแล การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะการติดแอลกอฮอล์และการเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างญาติผู้ดูแลกับผู้ป่วย 2. ควรเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมในด้านต่างๆ ให้กับญาติ ของผู้ป่วยแอลกอฮอล์ ทั้งในด้านจิตใจ ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และการอำนวยความสะดวก รวมทั้งมีการพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรสาธารณสุขในชุมชน เพื่อให้เป็นแหล่งสนับสนุนทางสังคมให้กับผู้ป่วยแอลกอฮอล์และญาติ 3. ควรติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชนหลังจากจำหน่าย มีการ เตรียมครอบครัว เพื่อนบ้านหรือกลุ่มเพื่อนร่วมงานของผู้ป่วยให้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างเหมาะสมเพื่อจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถเลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างต่อเนื่อง

27 พฤศจิกายน 2551

เหล้ามีผลกระทบต่อระบบหัวใจโดยตรง
« เมื่อ: ตุลาคม 21, 2007, 11:06:01 PM »
เหล้ามีผลกระทบต่อระบบหัวใจโดยตรง http://www.ddd.or.th/?content=knowledge&id=15&type=1&PHPSESSID=6c79737fc97d77a935609af3507b25a4 เหล้าทำให้หัวใจเต้นแรง เหล้าทำให้เป็นโรคความดันสูง เหล้าอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หัวใจวายตาย เหล้ามีผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อฝ่อ กล้ามเนื้อทำงานไม่ได้ หัวใจมีสิทธิ์จะวายตายได้ แต่เหล้าเมื่อดื่มแต่น้อย ก็อาจจะมีผลดีต่อหัวใจได้บ้าง ในระยะ 10 ปีนี้ มีรายงานทางแพทย์สรุปได้ว่า ดื่มเหล้าแต่น้อยบำรุงหัวใจได้จริง เพราะสามารถป้องกันไม่ให้ไขมันไปอุดตันเส้นเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ โอกาสที่เส้นเลือดจะอุดตัน จึงมีน้อยลง เมื่อเส้นเลือดไม่อุดตัน โรคที่ทำให้หัวใจวายตายเพราะสาเหตุนี้ย่อมน้อยลงไป โรคนี้ชาวบ้านเรียกว่าโรคลมปัจจุบันทันด่วน แต่ก็ต้องรักษาตัว และทำสภาพจิตใจให้ถูกต้องด้วยจึงจะได้ผล คือ ต้องมีอารมณ์รื่นเริง จิตใจเยือกเย็น ไม่หุนหันพลันแล่น ไม่โกรธง่าย ไม่สูบบุหรี่ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะอ้วนลงพุงไม่ได้ ถ้าไม่มีสภาพทางกายและจิตใจอย่างนี้ ถึงจะดื่มเหล้าแต่น้อย เหล้าก็ไม่ช่วยบำรุงหัวใจแต่อย่างใด ! อีกประการหนึ่ง ความเชื่อที่ว่า ดื่มเหล้าแต่น้อยจะป้องกันโรคหัวใจได้นั้น ก็มาจากข้อมูลที่ว่า เหล้าทำให้ประมาณของ High Density Lipoprotein เรียกว่า เอชดีแอล (HDL) ซึ่งเป็นสารไขมันตัวหนึ่งสูงขึ้น สารไขมันนี้ทราบกันทางวงการแพทย์ว่า สามารถป้องกันโรคหัวใจได้ แต่ต้องทำความเข้าใจว่า สารไขมันมีกี่ประเภทเสียก่อนดังนี้ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นสารไขมันอย่างหนึ่ง มีทั้ง Low Density Lipoprotein เรียกย่อว่า แอลดีแอล (LDL) และ High Density Lipoprotein เรียกย่อว่า เอชดีแอล (HDL) แอลดีแอล (LDL) นั้น มาจากอาหารทั้งสิ้น เป็นไขมันที่ไม่ดี ถ้ามีมากเกินไปมันจะไปอุดตันเส้นเลือด แอลดีแอลตัวดี คือ กะทิ ส่วนเอชดีแอล (HDL) นั้น เป็นไขมันตัวพระเอก คือขยันไปล้างเส้นเลือด ทำให้เลือดไหลคล่องเรียกว่าท่อไม่ตัน ดื่มเหล้าน้อย ๆ เพิ่ม HDL ได้จริงเป็นบางส่วน และยังกำจัด LDL ได้บ้างเป็นบางส่วน ตัวกำจัด LDL กลับไม่ใช่แอลกอฮอล์ แต่เป็นคอนจีเนอร์ สารกลุ่มแอนตี้ออกซิแดนต์ (Antioxidants) สารนี้พบในผักสด ผลไม้ ที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและวิตามินดี และยังพบในวิตามินอีอีกด้วย การรับประทานผักสดและผลไม้ป้องกันไม่ให้เป็นโรคหัวใจได้บ้าง คนฝรั่งเศส นักดื่มเหล้าไวน์แดง จะมี Antioxidants สูงมากจึงไม่แปลกที่มีรายงานว่า คนฝรั่งเศสที่ดื่มเหล้าอย่างพอเหมาะจะมีอัตราการเป็นโรคหัวใจต่ำกว่าปกติ การดื่มเหล้าแต่น้อยอาจมีผลต่อหัวใจได้บ้าง ถ้ามีองค์ประกอบที่ดีงามอยู่ด้วย แต่ถ้าเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคลมบ้าหมู ถ้ารับประทานยาอย่างอื่นอยู่ ก็ต้องงดการดื่มเหล้าอย่างเด็ดขาด ! แต่ถ้าดื่มมากจะทำให้เกิดโรคหัวใจวายตาย เพราะมันมีผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง ทำให้เป็นโรคความดันสูง หัวใจต้องฉีดเลือดด้วยความแรงสูง ทำให้เส้นเลือดในสมองแตก กลายเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้

ที่มาhttp://www.midnightuniv.org/forum/index.php?topic=5723.0

ผู้ทำ สุวรรณี วารินกุด
เหล้ากับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
มีปัจจัยบ่งชี้หลายอย่างก่อนจะเกิดว่าบุคคลใดจะติดเหล้าหรือไม่ จากการศึกษาบางครอบครัว พบว่า ถ้าคนในครอบครัวติดเหล้า ลูกหลานจะพลอยติดเหล้าไปด้วย ถ้าพ่อหรือแม่ หรือพี่หรือน้อง คนใดคนหนึ่งติดเหล้า คนอื่นในครอบครัวมีสิทธิ์ติดเหล้าได้ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ คือสูงกว่าอัตราการติดเหล้าในพลเมืองทั่วไป 5 เท่า ถ้าทั้งพ่อทั้งแม่ติดเหล้าทั้งคู่ อัตราการติดเหล้าของลูกจะถีบตัวสูงขึ้นไป 50-60 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว มีการศึกษาจากคู่แฝดในประเทศสวีเดน ประเทศเดนมาร์ก และที่รัฐไอโอวา ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ถ้าฝาแฝดคนหนึ่งติดเหล้า โอกาสที่คู่ฝาแฝดอีกคนจะติดเหล้ามีสูงมาก หากเป็นแฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ อัตราการติดเหล้าของคู่แฝดจะมี 25 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน คู่แฝดจะติดเหล้า 65-80 เปอร์เซ็นต์ นี่ก็แสดงว่า พันธุกรรมเป็นข้อบ่งชี้ถึงอิทธิพลของการติดเหล้าด้วย แต่ถ้าเป็นฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน ฝาแฝดคนหนึ่งติดเหล้า ส่วนคู่แฝดอีกคนกลับติดเหล้าไม่ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ก็แสดงว่าจะต้องมีสาเหตุอื่น ๆ เป็นตัวบ่งชี้ร่วมด้วย การศึกษาวิจัยโดยการแยกเด็กไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ได้ข้อสรุปเป็นที่แน่ชัดว่า เมื่อแยกเด็กจากพ่อแม่เดิมที่ติดเหล้าตั้งแต่วัยแรกเกิด เอาไปเลี้ยงในครอบครัวใหม่ที่ไม่ติดเหล้า เด็กนั้นก็ติดเหล้าอยู่ดี
ผู้หญิงเป็นโรคติดเหล้าน้อยกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า แต่จะไม่ติดเหล้าในเยาว์วัย ครั้นอายุมากขึ้น มีเรื่องกระทบจิตใจมาก หรือเป็นโรคซึมเศร้ามักจะใช้เหล้าเป็นเครื่องชโลมใจ จึงมีโอกาสติดเหล้าได้มาก ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้หญิงจะยอมรับว่าตนเองมี
ปัญหาในการดื่มเหล้า และจะไม่ค่อยถกเถียงในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โอกาสที่จะหายจากโรคติดเหล้าจึงมีมากกว่าผู้ชาย แต่ก่อนผู้หญิงจะติดเหล้าน้อยกว่าผู้ชาย พอมาสมัยนี้ผู้หญิงชักจะตีตื้นขึ้น โดยเฉพาะวัยรุ่น ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จะดื่มเหล้าเท่ากันหมด จึงเป็นที่น่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง เพราะนักดื่มเหล้าผู้หญิงนั้น ถ้าดื่มจัดมากมักมีปัญหากระทบต่อร่างกายและจิตใจมากกว่าผู้ชาย ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงหันมาดื่มเหล้านั้น ขึ้นอยู่กับสถานะทางสังคม โดยเฉพาะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะทางการสมรส เช่น มีการหย่าร้าง หรือตกงาน หรือถูกพลัดพรากจากผู้เป็นที่รัก แต่สำหรับหญิงม่ายเพราะสามีตาย ส่วนใหญ่กลับไม่หันมาดื่มเหล้าเพื่อดับความเศร้าโศก ผู้หญิงเมื่อตั้งครรภ์ต้องระวังรักษาตัวให้ดี ยุติการดื่มเหล้าให้ได้ เพราะเหล้าจะมีผลกระทบอย่างแรงต่อทารกในครรภ์ มีการค้นพบว่า ทารกในครรภ์ของผู้หญิงที่เป็นนักดื่มเหล้า จะพิการตามอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ ทารกที่เกิดมาจะเป็นโรคปัญญาอ่อน ศีรษะเล็ก สมองเล็ก เชื่องช้า
ถ้ารักลูกในท้องต้องงดดื่มเหล้าในระยะตั้งแต่ครรภ์อย่างเด็ดขาด ว่ากันว่า นักประพันธ์ผู้ที่ชอบขีดเขียน และศิลปิน จะเป็นกลุ่มคนที่ติดเหล้ามาก ข้อนี้อาจจะเป็นเรื่องบังเอิญก็ได้ที่มีนักประพันธ์ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล 7 คน มีถึง 5 คนที่ติดเหล้ากันงอมแงม
ที่มา http://healthnet.md.chula.ac.th/text/forum1/alcohol/alco3.html
ผู้ทำสุวรรณี วารินกุด

30 ข้อดีของเหล้า ที่คุณยังไม่รู้

[ แก้ไข ][ เก็บไว้เป็นเรื่องที่ติดตาม ]สร้างเมือ 10-01-2008 โดย JohnnyWalker
30 ข้อของเหล้า ที่คุณยังไม่รู้ จากฟอร์เวิร์ดเมล์
หมวดส่งเสริมอาชีพ
1. คนขายเหล้ารวยขึ้น พนักงานโรงงานเหล้ามีรายได้
2. หมอมีงานทำมากขึ้น
3. บริษัทยาและเครื่องมือแพทย์มีรายได้มากขึ้น เพราะว่าคนเป็นตับแข็ง เสี่ยงที่จะเกิดเลือดออกในกระเพาะมากขึ้น อุปกรณ์และยาเหล่านี้ครองมูลค่าตลาดหลายล้าน
4. เฮียปอ และตำรวจมีงานมากขึ้น
5. หนังสือพิมพ์อยู่ได้เพราะข่าวที่เป็นผลพวงจากเหล้านี่แหละ ปล้นฆ่าข่มขืน เกินครึ่งฉบับ
6. หนังสือเกี่ยวกับเหล้ามีมากมายพอๆกับหนังสือเพื่อสุขภาพ
7. ทำให้พระมีเรื่องเทศน์
8. เป็นจุดเชื่อมต่อทางศาสนาต่างๆ เพราะไม่มีศาสนาใดบอกว่าการกินเหล้าเมามายเป็นเรื่องดี
9. มุขแป้กๆของละครเวลาไม่รู้จะเขียนบทยังไงดี จะเขียนให้วัยรุ่นกินเหล้าเมาฉุดนางเอก ถ้าเป็นหนังโรงพระเอกจะโดนยำ ถ้าเป็นละครทีวีพระเอกจะโดนมา1แผล ถ้าเป็นหนังชีวิตนางเอกจะไม่มีคนช่วย
10. เมื่อรัฐบาลส่งเสริมอาชีพ พบว่าอาชีพผลิตเหล้าเป็นอันดับต้นๆที่คนไทยคิดออก
หมวดความรู้ทั่วไป
11. ขวดเบียร์ที่กินหมดแล้ว เอาไปตั้งดักแมลงสาบได้ แค่วางเอียงๆแหละ
12. สมัยเด็กๆจะเอาขวดเหล้าไปทุบละเอียดผสมกาวทาสายป่านว่าวเอาไปแกล้งตัดว่าวคนอื่นได้
13. สายลับใช้ขวดเหล้าฆ่าคนได้โดย เอาก้นขวดกระแทก(แข็งนะ) เอาปากขวดกระแทกเบ้าตา หรือฟาดให้แตกแล้วปาดคอ
14. คนไทยใช้เหล้าฆ่าคนโดยเอาแก้วเหล้ากระแทกปาก และซื้อฝากเพื่อนๆ
15. ยี่ห้อเหล้าเมืองไทย มีมากกว่ายี่ห้อนม ... สร้างรายได้ให้ผู้เกี่ยวข้องมากกว่า
16. เหล้ามีกลุ่มเป้าหมายแคบกว่ากลุ่มเป้าหมายของนม.. แต่ส่วนแบ่งตลาดต่างกันลิบลับ
17. เหล้าทำให้ตับแข็ง และทำให้" X นั่น"อ่อน ควบคู่กันไปอย่างอัศจรรย์
18. คนเมามีสามกลุ่ม 1.บอกว่าตนเองเมาแล้ว 2. บอกว่าไม่เมา 3. พูดไม่ได้เพราะสลบไปแล้ว
19. มากกว่าครึ่งของการบาดเจ็บของบุคลากรทางการแพทย์ในห้องฉุกเฉิน เกี่ยวกับคนที่เมาเหล้า ดังนั้นเป็นข้อได้เปรียบของคนที่เกลียดหมอนะ ดื่มเข้าไปเลย
20. เหล้ามีข้อดี ขนาดที่ว่ามีโทษมากมาย แต่รัฐบาลยังไม่ห้าม แปลว่ามันต้องมีข้อดีอันลึกลับแน่นอน
หมวดสังคม
21. เหล้าทำให้เด็กกร้านโลก กล้าทำในสิ่งที่เด็กไม่กล้าทำเช่นปล้น ฆ่า ข่มขืน ... เป็นวิธีที่รวดเร็วในการพัฒนาเด็กเป็นผู้ใหญ่
22. เหล้าทำให้พ่อเด็กจำนวนมากตายไปในรูปแบบต่างๆ เด็กในครอบครัวเหล่านี้จะรู้จักช่วยตนเองสู้ชีวิตมากขึ้น
23. ทำให้หมอแมวมีเรื่องเขียนไปวันๆ
24. เหล้าทำให้ครอบครัวอบอุ่น เร่าร้อน เหงื่อท่วมตัว จากการออกกำลังทำร้ายร่างกาย และพัฒนาต่อมน้ำตาของเด็กๆให้เจริญเร็วไม่เป็นโรคตาแห้ง
25. เหล้ามีบทบาทป้องกันประเทศรัสเซียยามสงครามมาแล้ว ในฐานะ Molotov????s X tail อันลือลั่น
26. เหล้าทำให้เราเห็นความรักอันสูงยิ่งของแม่ต่อลูก หลายครั้งที่แม่ถูกลูกเมาเหล้าเตะถีบผลักจนแขนหักขาหัก แต่แม่ยังไม่เอาเรื่อง
27. มนุษย์และลิงเป็นสัตว์สังคมที่สูงชั้นกว่าหมาแมว ดูสิ หมาแมวมันยังไม่กินเหล้าเลย
28. ลองนึกดูสิ ว่าเหล้าทำให้ประชากรตายไปมากแค่ไหน ถ้าไม่มีมัน โลกเราคงมีคนเยอะแยะมากมาย
29. เป็นอุปกรณ์สากลที่ทำให้ไทยจีนฝรั่งคุยกันรู้เรื่องดีกว่าวุ้นแปลภาษาของโดเรมอน
30. ทำให้กล้าแสดงออก กล้าพูดกล้าทำ แสดงออกซึ่งเสรีภาพในการพูดสมดังเป็นประเทศประชาธิปไตย

ที่มา http://guru.sanook.com/pedia/topic/30_%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2_%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/


ผู้ทำ สุวรรณี วารินกุด
เทคนิคดื่มเหล้าเพื่อสุขภาพ
-->
นักดื่มคอเหล็กคอทอแดงที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายฤดูอาจเคยถามตัวเองบ่อยๆว่าเมื่อคืนดื่ม หนักไปหรือเปล่า เชื่อว่ามีหลายคนตั้งใจว่าต่อไปจะดื่มให้น้อยลง แต่ก็เชื่อเถอะว่าพอถึงเวลามีงานปาร์ตี้สังสรรค์ ทีไร เอาเข้าจริงๆ คุณก็ห้ามใจตัวเองไม่อยู่ ตั้งใจไว้ 2 แก้ว ก็เผลอเป็น 2 กลมทุกที ไม่ต้องเสียใจไปกับความผิดพลาดในอดีตแต่เราลองมาให้ความสำคัญกับปัจจุบันและอนาคตดีกว่า ด้วยเทคนิคการดื่มเพื่อสุขภาพ
ข่าวการวิจัยของแพทย์และนักวิทยาศาสตร์จากหลายสถาบันยืนยันว่าคนที่ดื่มเหล้าเป็นประจำมี สุข ภาพแข็งแรงสมบูรณ์ และมีโอกาสอยู่ในโลกได้ยาวนานกว่าคนที่ไม่ดื่มเหล้าด้วยซ้ำสิ่งนี้อาจพอจะทำให้นักดื่มยิ้มออกกันได้บ้าง แต่คำถามที่ตามมาคือ ดื่มแค่ไหนได้สุขภาพ ดื่มแค่ไหนเสียสุขภาพ
คนดื่มเหล้าเป็นประจำประมาณ 1-2 แก้ว มีอัตราเสี่ยงตายจากโรคภัยไข้เจ็บอย่างโรคหัวใจ,เส้นเลือดอุดตันน้อยกว่าคนที่ไม่ดื่มเหล้าถึง 20-40 เปอร์เซ็นต์ 1 แก้วในที่นี้ หมายถึง เบียร์ขนาด 12 ออนซ์ ไวน์ 4-6 ออนซ์ส่วนอย่างอื่นที่แรงกว่าก็ประมาณ 1.5 ออนซ์ แต่อย่าลืมว่า ไลท์เบียร์จะเบากว่าเบียร์ทั่วไปนิดหน่อย ส่วนเบียร์อิมพอร์ตบางยี่ห้อ ก็อาจจะหนักกว่าเล็กน้อย คนที่นิยมดื่มประเภทมิกซ์ อย่าง ไฮบอลล์, มาร์ตินี่ ก็อาจจะดื่มได้มากเป็น 2-3 เท่า
ดื่ม 2 แก้วต่อวัน ไม่เมา ปริมาณการดื่มให้พอดีมักจะคิดคำนวณจากน้ำหนักตัวเป็นหลัก โดยทั่วๆไป ร่างกายจะเจือจางแอลกอฮอล์แก้วหนึ่งก็ประมาณ 1 ชั่วโมง คนที่หนัก 180 ปอนด์ที่ดื่มเหล้าไป 2 แก้วใน 2 ชั่วโมง จะมีแอลกอฮอล์อยู่ในเลือดประมาณ 0.016 ฤทธิ์แอลกอฮอล์แค่นี้ยังไม่แรงพอที่จะทำให้อารมณ์ความรู้สึกของคุณเปลี่ยนแปลง เรียกง่ายๆ ว่าอาการยังไม่ออก
สตาร์ทก่อนเมาด้วยอาหาร น้ำ ถ้าดื่มชั่วโมงละ 2 แก้ว ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจะเพิ่มเป็น 0.03ดีกรีสูงขึ้นมาอีกหน่อย ร่างกายของคุณก็จะเริ่มสตาร์ทเครื่องแค่อุ่นๆ รีแล็กซ์และเป็นกันเองมากขึ้น แต่อย่าเพิ่งร่าเริงหยิบแก้วต่อไป เพราะถ้าปริมาณแอลกอฮอล์ถึง 0.03 เมื่อไหร่ คุณจะตกที่นั่งลำบากเวลาขับรถกลับบ้าน เพราะฉะนั้นเพื่อความปลอดภัย ควรทานอาหารหรือน้ำสักแก้วเพื่อเป็นการสตาร์ทเครื่อง
จากการศึกษาวิจัยผู้ชายวัย 40 ขึ้นไป พบว่าคนที่กินเหล้าวันละ 2-4 แก้ว ยังไงก็มีสิทธิเป็นโรคเบาหวานน้อยกว่าคนที่ไม่กิน นั่นเป็นเพราะการดื่มเหล้าเป็นประจำ ำให้ร่างกายใช้อินซูลิน (ฮอร์โมนที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด) ได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
และจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนี่เอง ที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน แต่ขณะเดียวกัน มันก็คงยังมีโทษเป็นอันตรายต่อร่างกายอยู่ดี ถ้าคุณยังยืนยันเจตนารมณ์เดิม กิน 2-3 แก้วเป็นประจำ ผลร้ายก็ตกอยู่ที่กระดูก เพราะแอลกอฮอล์นั้นเป็นตัวทำลายเซลล์สร้างกระดูก ถ้าลดปริมาณการดื่มลงเหลือ 1-2 แก้วต่อวัน ก็จะลดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งที่ลำไส้ได้เกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งมะเร็งที่กระเพาะอาหารด้วย

การดื่มเหล้าชั่วโมงละ 3-4 แก้วจะเริ่มมึนหัว ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจะเพิ่มเป็น 0.056 ถึงตอนนี้คุณจะมีอาการมึนหัวเล็กน้อย มือใหม่สมัครเล่นบางคนถึงกับมีปัญหาเรื่องการทรงตัวและเรื่องสายตาเลยทีเดียว และถ้าดื่มเหล้า 4 แก้วภายใน 2 ชั่วโมง ค่าแอลกอฮอล์ในเลือดจะเพิ่มเป็น 0.064 ฤทธิ์ิ์แอลกอฮอล์ระดับนี้แรงพอที่จะทำร้ายสมองบางส่วน และสร้างปัญหาให้คุณมาก โดยเฉพาะเรื่องของการตัดสินใจต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาขับรถ

ดื่มวันละ 4 แก้ว เริ่มอันตราย ถ้ากินเหล้าวันละ 4 แก้ว แสดงว่าคุณดื่มหนักเกินไป ที่สำคัญมันไม่ดีต่อสุขภาพร่างกาย ผู้ชาย 4 ใน 10 คนที่กินเหล้าวันละ 4 แก้วหรือมากกว่า จะต้องทนทุกข์ทรมานกับเจ้าโรคตับอักเสบ เพราะว่าแอลกอฮอล์เป็นตัวทำลายเซลล์ในตับ ถ้าคุณดื่มติดต่อกันนาน 15-20 ปี รับรองจะเป็นโรคตับแข็ง โรคหัวใจ บางรายก็ถึงขั้นมะเร็งในปอด อีกโรคฮิตติดอันดับอันเนื่องมาจากแอลกอฮอล์ก็คือโรคความดันโลหิตสูง การดื่มเหล้ามากกว่า 3 แก้วต่อวัน อาจทำให้ฮอร์โมนซึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้เส้นเลือดตีบตันได้ง่าย ระดับความดันของเลือดสูงเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจวาย ขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบถึงสมองตรงส่วนซีรีเบลลัม อันเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมความรู้สึก การเคลื่อนไหว ความคิด และเหตุผลต่างๆ คนที่กินเหล้าน้อยกว่า 3 แก้วต่อวัน จะมีเซลล์ ส่วนนี้มากกว่าคนที่กิน 3-6 แก้วทุกวัน
ดื่มมากกว่าวันละ 6 แก้วภายใน 4 ชั่วโมง หัวหมุน ขาดสติ สำหรับคนที่หนัก 180 ปอนด์ ปริมาณแอลกอฮอล์จะสูงถึง 0.08 ถึงขั้นนี้แล้ว คุณก็อย่าหวังเลยว่าระบบการทำงานของร่างกายจะเป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับรู้ การตัดสินใจ และความทรงจำต่างๆ ระบบการทำงานของกล้ามเนื้อจะช้าลง เลือดหมุนเวียนไม่ทั่ว คุณจะรู้สึกหน้าชามากขึ้น แถมยังทำให้โลกทั้งโลกแกว่งไปมาจนคุณรู้สึกแย่ที่สุดในชีวิตเลยก็ว่าได้
ที่มา : .247freemag http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=67&post_id=43321

ผู้ทำ สุวรรณี วารินกุด
[แก้] เภสัชวิทยาของเหล้า
เหล้ามีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ แม้ว่าในเหล้าชนิดต่างๆยังมีสารอื่นๆที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์ของเหล้าชนิดนั้นๆ โดยเฉพาะเหล้าที่นำมาหมักดองกับสมุนไพรเพื่อปรุงแต่งสี กลิ่น รสชาติและสรรพคุณ เช่น เหล้าดองยาของไทย เหล้าเซี่ยงชุนของจีน เหล้าแคมปารี ของอิตาลี เป็นต้น สารปรุงแต่งเหล่านี้เมื่อดื่มในปริมาณมาก หรือ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้ดื่มได้ แต่เมื่อดื่มในระยะเฉียบพลัน อาการต่างๆของผู้ดื่มนับได้ว่าเกิดจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น
แอลกอฮอล์เป็นของเหลว ใส ระเหยได้ง่าย ละลายน้ำได้ดี มีกลิ่นเฉพาะตัว และ ติดไฟได้ง่าย แอลกอฮอล์เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบไปด้วยคาร์บอน ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ความรุนแรงของการออกฤทธิ์ขึ้นอยู่กับปริมาณของแอลกอฮอล์ที่มีอยู่ในกระแสโลหิต แอลกอฮอล์ที่กินได้ คือแอลกอฮอล์ชนิดเอทิล ส่วนแอลกอฮอล์ชนิดอื่นล้วนกินไม่ได้และเป็นพิษต่อร่างกายมากยิ่งไปกว่าเอทิล ถ้าเอาแอลกอฮอล์ชนิดอื่น เช่น เมทิลแอลกอฮอล์มาผสมเป็นเหล้า กินเข้าไปแล้วทำให้ปวดหัว ตาพร่า จนบอด และถึงกับเสียชีวิตได้
เมื่อกินเหล้าเข้าไปผ่านกระเพาะอาหารไปสู่ลำไส้เล็ก แอลกอฮอล์ในเหล้าจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตและกระจายไปทั่วร่างกาย เมื่อกินอาหารมาก่อน แอลกอฮอล์ใช้เวลา 1 ถึง6 ชั่วโมง จึงจะถูกดูดซึมไปถึงระดับสูงสุดในเลือด แต่ถ้ากินเหล้าในขณะที่ท้องว่าง แอลกอฮอล์ใช้เวลาถูกดูดซึมสู่ ระดับสูงสุดในเลือด เพียง 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง แอลกอฮอล์ในร่างกายถูกกำจัดโดยตับเป็นส่วนใหญ่ (95 เปอร์เซ็นต์) ที่เหลือถูกขับออกทางลมหายใจ ปัสสาวะ เหงื่อ อุจจาระ น้ำนม และน้ำลาย
แอลกอฮอล์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เกิดการสูญเสียความร้อนจากร่างกาย แอลกอฮอล์ในปริมาณมากทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำให้เกิดอาการอักเสบและเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้ แอลกอฮอล์ยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ผู้ที่กินเหล้าจึงปัสสาวะบ่อย สูญเสียน้ำและรู้สึกกระหายน้ำมากในเวลาต่อมา อีกประการหนึ่ง บรรยากาศวงเหล้า ผนวกกับพลังงานที่ได้จากเหล้ามักทำให้ผู้ดื่มไม่รู้สึกอยากอาหาร ดังนั้นผู้ที่กินเหล้าเป็นนิจจึงอาจขาดสารอาหารได้ ที่สำคัญแอลกอฮอล์ทำให้เกิดความเสียหายที่เนื้อตับ คนกินเหล้าจึงมีโอกาสเป็นตับอักเสบมากกว่าคนไม่กินและอาจพัฒนาไปถึงขั้นตับวายได้

[แก้] เหล้ากับสุขภาพ
มีความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับฤทธิ์ของเหล้าและแอลกอฮอล์ ถูกบ้างผิดบ้าง ผู้ที่นิยมดื่มก็มักอ้างฤทธิ์อันเป็นคุณของเหล้าหรือแอลกอฮอล์มาบดบังฤทธิ์ที่ก่อให้เกิดโทษซึ่งมีมากกว่าหลายเท่านัก เช่น แอลกอฮอล์มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้จริงแต่ไม่สามารถทำลายไข่หรือตัวอ่อนของพยาธิ์ที่ปะปนมากับกับแกล้มดิบๆสุกๆได้ และยิ่งไม่สามารถฆ่าพยาธิ์ตัวแก่ในลำไส้ได้ หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง แอลกอฮอล์มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ผู้นิยมดื่มก็มักอ้างว่ากินเหล้าเพื่อให้เลือดลมดี ซึ่งก็เป็นจริงเมื่อกินเหล้าในปริมาณน้อย (ถึงน้อยมาก) แต่เมื่อกินเหล้ามาก แอลกอฮอล์จะกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้พูดจาไม่ชัด ทรงตัวลำบาก สายตาพร่ามัว ขาดสติ ตับแข็ง และอาจเกิดอันตรายนานับปการต่อผู้ดื่มและคนรอบข้าง

[แก้] เหล้ากับการเข้าสังคม
ถ้าจำเป็นต้องกินเหล้า (ผู้จะดื่มสุราล้วนอ้างความจำเป็นทั้งสิ้น) ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่าง ควรกินอาหารไปก่อน หรือกินกับแกล้มมากสักหน่อย ยาบางอย่างทำปฏิกิริยากับเหล้า อาจทำให้เหล้าเป็นพิษ หรือลดความแรงของตัวยา คนที่ไม่ใช่หมอ ยากที่จะรู้จักยาพวกนี้อย่างละเอียด ทางที่ดี ช่วงที่กินยาอยู่ก็งดเว้นกินเหล้า


ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B2

ผู้ทำ นางสาวสุวรรณี วารินกุด

26 พฤศจิกายน 2551



โพสโดย : นาวสาวทิพวรรณ สารวรรณ






"Alcohol" : Thing you want to know but afraid to ask.


อาจจะกล่าวได้ว่า แอลกอฮอล์ (Alcohol) ถือว่าเป็นยาตัวหนึ่งที่ได้ใช้กันมาเป็นเวลานาน นับเป็นพันปีเลยก็ว่าได้ :ซึ่งในปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มมึนเมานั้นมีขนาดใหญ่มาก ผลกระทบที่มีต่อสังคมและต่อบุคคลนั้นก็มีมากมาย ส่วนใหญ่เป็นไปในทางลบ บทความนี้หวังจะให้ผู้อ่านได้ความรู้และเผยแพร่แก่บุคคลใกล้ชิดรอบข้างที่จะเป็นพลังของชาติที่มีคุณภาพ เพราะเมื่อเรารู้ธรรมชาติ ความเป็นไปและคุณสมบัติของแอลกอฮอล์ รู้ผลดี (น้อย) และผลเสีย (มาก) ต่อร่างกายและสังคม เราก็จะได้รู้จักประพฤติตนเตรียมตัวรับมือหรือหลีกเลี่ยงเสีย เพื่อให้คุณภาพชีวิตของเราอยูในระดับดี ไม่ตกเป็นเหยื่อหรืออยู่ภายใต้อำนาจของมัน จริงอยู่แอลกอฮอล์ เป็นสารเครื่องดื่ม ที่สังคมยอมรับไม่ว่าจะเป็นสังคมชั้นไหนๆ เป็นเครื่องดี่มที่ใช้กันทุกระดับชนชั้น แต่โทษของมันก็มากมายเกินกว่าที่ทุกคนจะคาดเดาได้ บทความนี้จะประกอบไปด้วย ความรู้ทั่วไปทีเกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย ผลที่มีต่อระบบของต่อมระบบต่างๆ ของร่างกาย และผลข้างเคียงที่เราไม่ค่อยจะรู้รายละเอียดกัน


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ แอลกอฮอล์ (Alcohol)


Alcohol เป็นสารที่ประกอบด้วย Carbon (C) Hydrogen (H) และ ตัว OH (Hydroxy group)



  • หากมีคาร์บอน หนึ่งตัว ก็เรียกว่า Methy Alcohol CH3-OH ซึ่งที่เรารู้จ้กกันดี ก็คือที่เอามาใช้ทำความสะอาดแผล

  • คาร์บอนสองตัว ก็เรียกว่า Ethyl Alcohol C2H5-OH ซึ่งก็คือ ตัวที่เราเอามาใช้ดื่มกัน

ตัวอื่นๆ ที่มี จำนวนคาร์บอน มากกว่า 2 เราก็จะไม่เอยถึงเพราะเราพบน้อย มาถึงตัวที่เราสนใจ คือ Ethyl Alcohol หรือที่ชาวเราเรียกว่า "สุรา แปลว่า เหล้า"นี่แหละ ในที่นี้ เราจะเรียกรวมว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้


  • เบียร์ ซึงได้มาจากการหมัก พวกข้าว เช่น ข้าวบาร์เล จำนวนน้ำหนักแอลกอฮอล์ประมาณ 3-6 กรัมต่อปริมาณ (100 cc) หรือนิยมเรียกว่า มีแอลกอฮอล์อยู่ 3-6%

  • ไวน์ ได้มาจากการหมักน้ำตาลของผลไม้ จำนวนแอลกอฮอล์มีประมาณ 12-14% มีไวน์ที่ทำให้เข้มข้น โดยเติมแอลกอฮอล์เข้าไปอีก ให้เป็น 18-20% ก็มี ส่วน ไวน์คูลเลอร์ (Wine Cooler) นั้น เขาผสมน้ำตาล ไวน์แดงหรือขาว เข้าไปด้วย มีปริมาณแอลกอฮอล์เท่ากับพวกเบียร์

  • เหล้า กลุ่มสุดท้าย ได้แก่พวกเหล้าดีกรีสูง เช่น whiskey ซึ่งได้จากการต้มกลั่นกันเลย พวกนี้ มีปริมาณแอลกอฮอล์ประมาณ 40-50%

มีศัพท์อยู่อีกคำที่ใช้กันในแวดวงอุตสาหกรรมสุรา คือ proof เช่น บอกว่า เหล้านี้มี 80 % proof อันนี้มีค่าเท่ากับ ให้เอาจำนวน proof หารด้วย 2 จะออกมาเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ของแอลกอฮอล์ ฉะนั้น 100% proof ก็จะมีแอลกอฮอล์อยู่ 50% เพื่อให้ง่ายในการเปรียบเทียบ ระหว่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดต่างๆ ที่เขามักจะใช้ในการเปรียบเทียบ โดยใช้เรียกว่า "A drink" หรือ "One drink" นั้นเท่ากับ





  • 12 ounces of beer (4-6%) ~ 360 cc = (5% x 360) / 100 = 18 gm of alcohol

  • 4.5 ounces of wine (12-14%) ~ 140 cc = (13% x 140) /100 = 18.2 gm of alcohol

  • 1.5 ounce of distilled liquor( 40%) ~ 45 cc = (40% x 45) /100 = 18 grm of alcohol

  • (1 ounce ~ 30 cc)


ฉะนั้น จะเห็นว่า ดื่มเบียร์ 360 cc จะเท่ากับ ดื่มไวน์ 140 cc เท่ากับ ดื่มพวกวิสกี้ 45 cc ในแง่ของ จำนวนน้ำหนักของแอลกอฮอล์จริงๆ ที่เข้าไปในร่างกาย 360 cc มีปริมาณ ประมาณ 1 แก้วน้ำดื่ม อย่างน้ำดื่มขวดขนาดเท่ากับ 500 cc เท่าที่เคยเห็น
ส่วน 45 cc นั้น อันนี้ น่าจะเท่ากับ 1 เป็ก (แก้วใบเล็กๆ) ซึ่งสมัยก่อนที่บรรดาคอเหล้าขาวยี่สิบแปดดีกรี (รู้สึกจะเป็นของโรงสุราบางยี่ขัน) ชอบไปซื้อตามร้าน 1 กรึ้บเล็กๆ แล้วมักจะตามด้วยมะขามเปรี้ยว ตอนสมัยเด็กๆ จะเห็นว่าพอเวลาพวกกรรมกรดื่มของพวกนี้ เวลาที่มันผ่านคอ เขาทำหน้าเหยเก ทำให้นึกว่าทำไมเขาต้องกิน มันคงไม่อร่อยเลยในเมื่อกินแล้วมันทำหน้าเป็นอย่างนั้น






รวบรวมและเรียบเรียงโดย : นพ. สมนึก ศรีวิศาล FRCR, FRCPC, St.Louis, MO, USA
แหล่งข้อมูล: http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.krumontree.com/science/images/mao_01.jpg&imgrefurl=http://www.krumontree.com/science/alcohol_05.html&usg=__mXzWAHMojvQGHi5u7Dw_rDmJqGk=&h=194&w=144&sz=6&hl=th&start=4&tbnid=4a55H3EVc9ubfM:&tbnh=103&tbnw=76&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%26gbv%3D2%26hl%3Dth%26sa%3DG





โพสโดย: นางสาวทิพวรรณ สารวรรณ

25 พฤศจิกายน 2551


กลไกการออกฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ต่อระบบต่างๆ
ในร่างกาย



กลไกการออกฤทธิ์ต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่ายกาย
การออกฤทธิ์ของสุรา คนส่วนมากมักเข้าใจผิดว่าสุรานั้นจะออกฤทธิ์ต่อร่างกายเมื่อถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วมันออกฤทธ์ทำลายตั้งแต่อวัยวะแรกที่สำผัสจนตลอดตามเส้นทางเดินของสุราที่ผ่านเข้ามาในร่างกาย ซึ่งสามารถอธิบายตามลำดับขั้นตอนได้ดังต่อไปนี้


1.ปากและลำคอ เมื่อสุราเข้าปากและลำคอจะไปออกฤทธิ์ต่อผิวอวัยวะภายในช่องปากทำให้เกิดการระคายเคืองชิ้นเยื่อบุที่ละเอียดอ่อนในปากและหลอดอาหาร มักมีอาการร้อนซู่เมื่อผ่านลงไป


2.กระเพาะอาหารและลำไส้ สุราเมื่อผ่านลงสู่กระเพาะจะมีผลกับผนังชั้นนอกสุดที่เป็นชั้นที่จะปกป้องกระเพาะอาหาร จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ถ้าอาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันเกิดอาการอักเสบของเยื่อบุชั้นในสุดของผนังหรือกระเพาะอาหารหรืออาจทะลุลำไส้เล็กได้ นอกจากนั้นสุรายังเป็นอุปสรรคกับการดูดซึมอาหารบางชนิด เช่น วิตามินB1, กรดโฟลิก ,ไขมัน วิตามินบี6,วิตามินบี 12 และกรดอะมิโนต่าง ๆ


3.กระแสเลือด ร้อยละ95 ของสุราที่เข้าสู่ในร่างกาย จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด โดยผ่านเยื่อบุในกระเพาะอาหาร และลำไส้ส่วนดูโอดีนั่มอย่างรวดเร็ว เมื่อถึงกระแสเลือดจะเข้าไปในเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆในร่างกายอย่างรวดเร็ว แอลกอฮอล์ทำให้เซลล์ของเลือดเกาะเป็นก้อนเหนียว การไหลเวียนจึงช้าลง และปริมาณออกซิเจนลดต่ำลงด้วย สุราทำให้โลหิตจาง โดยจะไปลดการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ความเม็ดเลือดขาวทำลายแบคทีเรียช้าลง และทำให้การแข็งตัวของเกล็ดเลือดช้าลงด้วย


4. ตับอ่อน แอลกอฮอล์จะทำให้เซลล์ของตับอ่อนระคายเคือง และบวมขึ้น สุราทำให้การไหลของน้ำย่อยไม่สามารถที่จะเข้าไปในลำไส้เล็กได้ ทำให้น้ำย่อยย่อยตัวตับอ่อนเอง ทำให้เกิดเลือดออกอย่างเฉียบพลันและการอักเสบของตับอ่อน พบว่า 1ใน5 จะเสียชีวิตไปในครั้งแรก เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับตับอ่อน การสร้างอินซูลินขาดหายไป และทำให้เป็นเบาหวานในที่สุด


5.ตับ แอลกอฮอล์มีอิทธิพลต่อเซลล์ของตับ ทำให้เกิดการบ

วม ทำให้น้ำดีซึมผ่านไปทั่วตับ เป็นเหตุให้ตัวเหลือง รวมทั้งส่วนขอบตาและผิวหนังเป็นสีเหลืองด้วย ทุกครั้งที่ดื่มสุรานั้น เซลล์ของตับจะถูกทำลายเป็นผลให้ตับแข็ง การเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับมีถึง 8 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มสุรา


6. หัวใจ แอลกอฮอล์ทำให้กล้ามเนื้อของหัวใจบวม ทำให้เกิดเป็นพิษกับหัวใจมีการสะสมของไขมันมากขึ้น และทำให้การเผาผลาญช้าลงไปด้วย


7. กระเพาะปัสสาวะและไต แอลกอฮอล์ทำให้เยื่อบุของกระเพาะปัสสาวะบวม ทำให้ไม่สามารถยืดได้ตามปกติ การระคายเคืองของไตทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น


8. ต่อมเพศ ต่อมอัณฑะจะบวม ทำให้ความสามารถทางเพศลดลง


9. สมอง เป็นอวัยวะที่ไวต่อฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ซึ่งเห็นได้ชัดเจน ก่อให้เกิดพิษแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง

9.1 พิษแบบเฉียบพลัน ได้แก่ Alcoholic intoxication แบ่งออกเป็นพิษในระดับมากน้อยแตกต่างกันไป ตามระดับของแอลกอฮอล์ในเลือดดังนี้ระดับแอลกอฮอล์ (มิลลิกรัม/100มิลลิลิตร)30 mg% - ทำให้เกิดการสนุกสนานร่าเริง50 mg% - เสียการควบคุมการเคลื่อนไหว100 mg% - แสดงอาการเมาให้เห็น เดินไม่ตรงทาง200 mg% - เกิดอาการสับสน300 mg% - เกิดอาการง่วงซึม400 mg% - เกิดอาการสลบ และอาจถึงแก่ชีวิตได้

9.2 พิษเรื้อรังแอลกอฮอล์มีพิษโดยตรงต่อสมอง ทำให้เซลล์สมองเสื่อม ในผู้ติดสุราพบว่ามีการฝ่อลีบของสมองส่วนคอร์เทกซ์ ซึ่งจะมีผลต่อการเสื่อมทางจิตด้วยหลายประการ เช่น ขาดความรับผิดชอบ ความจำเสื่อม เมื่อเป็นมากเกิดประสาทหลอน หูแว่ว หลงผิด หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง และแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดประสาท โดยกดศูนย์ควบคุมระบบต่าง ๆ เช่นกดศูนย์หายใจและศูนย์ควบคุมการไหลเวียนของโลหิตในสมอง ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้



ผู้จัดทำ : นางสาวทิพวรรณ สารวรรณ





ผลกระทบต่อสุขภาพเนื่องจากติดแอลกอฮอล์

ผลของการติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน จากผลการสำรวจพบว่า คนไทยดื่มเหล้ามากเป็นอันดับ 5 ของโลก หรือคิดเป็นจำนวนร้อยละ 35 ของจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ ผลกระทบของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ขยายตัวออกไปเป็นวงกว้างทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทำให้ปัญหาการบริโภคแอลกอฮอล์กลายได้กลายเป็นประเด็นปัญหาสำคัญในสังคมไทย และก่อให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อร่างกาย และจิตใจของผู้ดื่มแอลกอฮอล์ ผลกระทบต่อบุคคลใกล้ชิด และบุคคลอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทะเลาะวิวาท ความรุนแรง และอุบัติเหตุ ดังนั้น กล่าวได้ว่า ปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเป็นประเด็นปัญหาสาธารณะทั้งในระดับชาติและระดับชุมชน

ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของเราคือ


ภาวะมึนเมาจากแอลกอฮอล์


เกิดจากการลดลงของระดับแอลกอฮอล์ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของสมองทำให้เกิด อาการต่างๆตามมา อาการจะขึ้นอยู่กับว่าผู้นั้น เป็นผู้ที่ดื่มจนกลายเป็นผู้ติดแอลกอฮอล์ หรือไม่ โดยทั่วไป ผู้ที่ไม่ติดแอลกอฮอล์จะเกิดอาการขาดแอลกอฮอล์ได้หลังจากดื่มในปริมาณที่มาก โดยมีลักษณะที่เรียกกันว่า เมาค้างในตอนเช้า หรือยังไม่สร่างจากเมาเมื่อ คืน อาการจะเริ่มเกิดขึ้นหลังจากหยุดดื่มได้ ๔ - ๖ ชั่วโมง โดยมีอาการปวดศีรษะ มือสั่น หงุดหงิด กระวนกระวาย ตาสู้แสงสว่างไม่ได้ รวมทั้งอาจมีอาการใจสั่นร่วมด้วย อาการต่างๆเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ ๒๔ - ๔๘ ชั่วโมง สำหรับอาการขาดแอลกอฮอล์ในผู้ ที่ดื่มจนติดแล้วนั้น อาการจะเริ่มเป็นตามช่วงระยะและลำดับเวลาดังนี้ ในช่วง ๖ - ๒๔ ชั่วโมงแรกหลัง จากหยุดหรือลดปริมาณการดื่ม จะมีอาการมือสั่น ปวดศีรษะ หงุดหงิด กระวนกระวาย ใจสั่น นอนไม่หลับ ในบางรายจะเริ่มเกิดอาการประสาทหลอน ส่วนใหญ่เป็นอาการหูแว่ว หวาดระแวง กลัวคนจะมา
ทำร้าย บางรายจะพบอาการชักกระตุกเกร็งทั้งตัวได้ อาการต่างๆจะเป็นอยู่ประมาณ ๒๔ - ๔๘ ชั่วโมง และหากผู้นั้นเป็นผู้ที่ติดแอลกอฮอล์อย่างรุนแรงก็จะทำให้เกิดอาการต่างๆตามมา ได้อีกคือ ประมาณ ๓๖ - ๗๒ ชั่วโมง หลังจากหยุดดื่มหรือลดปริมาณการดื่มลง จะเกิดอาการสับสน จำวัน เวลา สถานที่ และบุคคลไม่ได้ เพ้ออย่างรุนแรง กระวนกระวาย ได้ยินเสียงแว่ว ภาพหลอน ควบคุมตัวเองไม่ได้ อาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ บางรายอาจเป็นได้นานถึงสัปดาห์ หากไม่ได้ รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม จะมีอันตรายต่อสุขภาพตามมาได้ นอกจากนี้ บางรายที่ติดแอลกอฮอล์อาจเกิดภาวะขาดแอลกอฮอล์ในลักษณะที่เรื้อรังได้คือ จะมีอาการนอนไม่หลับ ความจำบกพร่อง อ่อนเพลีย และการทำงานของระบบอัตโนมัติของร่างกาย ผิดปกติไป เช่น ใจสั่น ใจเต้นเร็ว อาการเหล่านี้จะเป็นต่อเนื่องได้นาน ๖ - ๒๔ เดือน ถึงแม้ว่าจะหยุดดื่มแอลกอฮอล์แล้วก็ตาม

โดย นางสาวทิพวรรณ สารวรรณ ID. 5131901089

http://dpc9.ddc.moph.go.th/group/ncd/KNOWLEAGE/alcohol.htm



24 พฤศจิกายน 2551

เหล้า...ตัวกระตุ้นให้ผู้หญิงไทยถูกกระทำความรุนแรงจากคนใกล้ชิด

ชี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง





ในประเทศไทย ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2550 จากสถิติการให้บริการของศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ประจำจังหวัด 297 แห่ง มีเด็ก สตรี และผู้สูงอายุ ที่ถูกกระทำทารุณเข้ารับบริการจำนวน 19,068 ราย เป็นผู้หญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 8,172 ราย นอกจากนี้ยังพบว่าตั้งแต่ พ.ศ. 2547 – 2550 การกระทำความรุนแรงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยพบความรุนแรงที่เกิดต่อผู้หญิง เป็นการกระทำของใกล้ชิด แฟน และสามี มากกว่าคนไม่รู้จักกันหรือคนแปลกหน้าซึ่งมีจำนวนน้อยมาก

“จากสถิติของกองวิจัยและวางแผนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่เดือนเมษายน– กันยายน พ.ศ. 2551 พบว่าความรุนแรงต่อผู้หญิงที่มีการแจ้งความดำเนินคดีการทำร้ายร่างกาย และข่มขืนกระทำชำเราสูงถึง 18,191 ราย และ 4,359 ราย ตามลำดับ

ส่วนมูลนิธิเพื่อนหญิง ซึ่งมีบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้หญิงที่ประสบปัญหาวิกฤติความรุนแรง พบว่าในรอบปี 2550 มีผู้หญิงที่ประสบความรุนแรงเข้ามารับคำปรึกษาจำนวน 864 ราย ในจำนวนนี้ปรึกษาความรุนแรงในครอบครัวมากถึง 683 ราย และปรึกษาปัญหาความรุนแรงทางเพศมากกว่า 100 ราย”

อย่างไรก็ตามจากผลการสำรวจ และรวบรวมข้อมูลของมูลนิธิเพื่อนหญิง พบว่าหลายกรณีของความรุนแรงต่อผู้หญิงมีปัจจัยกระตุ้นก่อให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น คือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด และการพนัน


ที่มาhttp://www.thaihealth.or.th/node/6591
ผู้ทำ สุวรรณี วารินกุด
มาตรการห้ามโฆษณาเหล้าสู่ “พ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์”ฉบับสมบูรณ์

ส่งผลดีต่อการลดการบริโภคและผลกระทบจากน้ำเมาในระยะยาว
มาตรา 31-34 ว่าด้วยการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งร่างเดิมที่ผ่านการรับหลักการ ห้ามโฆษณาโดยสิ้นเชิง
ร่างพ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ... เป็นพ.ร.บ.ที่ผ่านการพิจารณาหลายเวทีตั้งแต่ 26 พ.ค.2548 ผ่านการรับฟังความเห็นประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 4 ภูมิภาค ผ่านการแก้ไข 11 ครั้ง ผ่านครม.จนเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 28-29 มี.ค.2550 โดยมติที่ประชุมรับหลักการด้วยคะแนนเห็นด้วย 98 เสียง ไม่เห็นด้วย 34 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง และให้ตั้งคณะกรรมมาธิการวิสามัญ 31 คน
ในพ.ร.บ.ฉบับนี้มาตราที่สำคัญ และมีความเห็นต่างกันมาก คือ มาตรา 31-34 ว่าด้วยการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งร่างเดิมที่ผ่านการรับหลักการ ห้ามโฆษณาโดยสิ้นเชิง
แต่ในคณะกรรมาธิการวิสามัญเห็นต่างกัน จึงตั้งคณะอนุกรรมาธิการรวม 9 คน มาพิจารณา ซึ่งประชุม 5 ครั้ง แต่ยังเห็นต่างกัน ส่วนหนึ่งเห็นด้วยกับร่างเดิม คือห้ามโฆษณาโดยสิ้นเชิงเพื่อปกป้องเยาวชน โดยเห็นว่าควรให้โฆษณาได้ในสถานที่ที่จัดไว้ โดยเฉพาะที่ห้ามเด็กต่ำกว่า 20 ปีเข้า เช่น สถานบริการ ส่วนเสียงข้างมากในคณะอนุฯ เห็นควรผ่อนผันให้โฆษณาได้ทุกสื่อแบบมีเงื่อนไข เช่น สื่อป้ายกลางแจ้ง ห้ามไม่ให้แสดงภาพผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และจำกัดขนาดของป้าย แต่ให้โฆษณาได้ทุกที่แม้ใกล้โรงเรียนในรัศมี 500 เมตร ซึ่งปัจจุบันมีการห้ามอยู่ โดยให้เหตุผลว่าหากร่าง พ.ร.บ.นี้เข้มเกินไป คือ ห้ามหมด เมื่อเสนอกลับเข้าไปใน สนช.อีกครั้งจะไม่ผ่านความเห็นชอบ
เมื่อมาตราเกี่ยวกับการห้ามโฆษณา เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ มีการอภิปรายให้เหตุผลต่างๆ กันมากขึ้น แต่ประเด็นที่ว่า หากห้ามโฆษณาเข้มเกินไป ร่าง พ.ร.บ.อาจไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ (สภาใหญ่) ยังเป็นประเด็นที่ต้องร่วมอยู่ในเหตุผลตลอด ทำให้ผลออกมาดังนี้
- สื่อสิ่งพิมพ์ ให้โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ โดยห้ามปกหน้าปกหลัง และสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเยาวชนและที่ใช้ในสถานศึกษา ยกเว้นการศึกษาในหลักสูตรเกี่ยวข้องกับการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- สื่อป้ายกลางแจ้ง ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- สื่อโทรทัศน์ ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 05.00-24.00 น.
ส่วนในมาตรา 34 จะพิจารณาวันศุกร์ที่ 14 ก.ย.นี้ ซึ่งเกี่ยวกับการโฆษณาชื่อบริษัทผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งตามร่างเดิมห้ามโฆษณา หากคณะกรรมาธิการให้โฆษณาได้ในมาตรา 34 นี้ จะเกิดผลให้ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถโฆษณาชื่อบริษัทได้ในทุกสื่อตลอดเวลา (24 ชั่วโมง) ซึ่งปัจจุบันตามมติคณะรัฐมนตรี 2546 ห้ามอยู่ หรือ ป้ายกลางแจ้งที่คณะกรรมาธิการไม่ให้โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็จะสามารถโฆษณาบริษัทผู้ผลิตและนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างอิสระ
สิ่งที่น่าสังเกต คือ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ เกิดขึ้นภายใต้เจตนารมณ์เพื่อลด การดื่ม ลดผลกระทบ ซึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดผลกระทบทุกด้านมากมาย ที่สำคัญเพื่อปกป้องลูกหลานของไทย
โดย พ.ร.บ.นี้ มีประชากรกว่า 13 ล้านเสียงสนับสนุน มีนักวิชาการลงชื่อสนับสนุนกว่า 300 ท่าน มีนักวิชาการสายนิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์อีกกว่า 160 ท่าน ลงชื่อสนับสนุน มีงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศมากมาย พบว่าการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลทำให้เยาวชนดื่มมากขึ้น เกิดผลกระทบมากขึ้น และโฆษณาทำให้เกิดค่านิยมว่าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้สนุก มีเพื่อน เท่ห์ ที่สำคัญไทยมีบทเรียนที่มีคุณค่าจากบุหรี่ ที่ห้ามโฆษณาโดยสิ้นเชิงทุกสื่อตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ปี 2532 (18 ปี) จำนวนนักสูบหน้าใหม่ (เยาวชน) ลดจำนวนลงเห็นได้ชัด รวมถึงค่านิยมทุกวันนี้คนสูบบุหรี่ไม่ได้เท่ห์เหมือนเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
เหตุผลข้างต้น เห็นได้ว่า การห้ามโฆษณาโดยสิ้นเชิง ส่งผลดีต่อการลดการบริโภคและผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่เหตุใดผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯ จึงออกมาอ่อนลงและเหตุผลต่างๆ ที่ใช้ประกอบดูบิดเบี้ยวไปหมด เช่น สื่อโทรทัศน์ เป็นสื่อที่มีอิทธิพลที่สุดในการทำให้เยาวชนรู้จักเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรเป็นสื่อที่ถูกควบคุมเข้มก่อนสื่ออื่นๆ ดังเช่น 33 ประเทศทั่วโลก ที่ควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์ตลอด 24 ชั่วโมง
มติคณะกรรมาธิการกลับปล่อยให้มีการโฆษณาได้ทางสื่อโทรทัศน์ ขณะที่คุมเข้มป้ายกลางแจ้งซึ่งมีผลต่อเด็กน้อยกว่า ด้วยเหตุผลว่าต้องการให้ธุรกิจสุรามีทางออกในการโฆษณาบ้าง ด้วยเกรงว่าหากมาตรการห้ามโฆษณาเข้มมากจะทำให้ พ.ร.บ.ฉบับนี้พ่ายแพ้และตกไปในชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
จึงเชิญชวนประชาชนให้กำลังใจ สนช.ใช้ความกล้าหาญทางจริยธรรม พิจารณามาตรการห้ามโฆษณาอย่างเข้มข้นตามร่างเดิม ห้ามโฆษณาโดยสิ้นเชิงตามแบบบุหรี่ที่สำเร็จมาแล้ว ในไทยนี้เอง หากต้องการให้ธุรกิจสุราโฆษณาได้ ก็ควรให้โฆษณาในสถานบริการและสถานจำหน่ายสุราเป็นการเฉพาะ เนื่องจากบุคคลที่เข้าสถานที่เหล่านี้ เป็นบุคคลที่ต้องการเข้าไปซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสถานที่เหล่านี้ก็ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีเข้าตามกฎหมาย
"กล้าตัดสินใจออกพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับเพื่อปกป้องเยาวชนอย่างแท้จริงเถอะ"

ที่มา :
เรื่องโดย : นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา
ข้อมูลจาก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ภาพประกอบ : Team content www.thaihealth.or.th

ผู้ทำ สุวรรณี วารินกุด

23 พฤศจิกายน 2551

ปัญหาแอลกอฮอ

แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มทุกประเภท นอกจากจะมีผลต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังทำให้ความสนใจในการเรียนลดลง สมาธิลดลง การทำงานที่ต้องการฝีมือแย่ลง ทำให้อารมณ์หงุดหงิด นิสัยและพฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางก้าวร้าว
ตามสถิติพบว่า ผู้ที่ดื่มสุราตั้งแต่อายุน้อยๆ จะเกิดปัญหาที่รุนแรงกว่าและแก้ไขยากกว่า และพวกที่ดื่มประจำ มักจะเป็นพวกสูบบุหรี่จนติด และมีโอกาสที่จะเสพยาเสพติดไม่ว่าจะเป็น กัญชา เฮโรอีน ยาม้า ยาอี มากกว่าคนทั่วไป

ปฏิกิริยาของแอลกอฮอล์ในร่างกาย
ปฏิกิริยาแรกที่เกิดขึ้นทันทีที่ดื่มเหล้าแล้ว แอลกอฮอล์เข้าสู่ตับ เอนไซม์ในตัวคนเราจะเปลี่ยนแอลกอฮอล์เป็นสารตัวใหม่ ชื่อ อะเซ็ตทัลดีไฮด์ (acetaldehyde) แล้วเปลี่ยนต่อเป็นสารอะซิเทต (acetate) แล้วเคลื่อนตัวไปยังสมอง รวมไปถึงอวัยวะต่างๆ อีกมากมายหลายส่วน
ผลจากการเคลื่อนตัวไปยังส่วนต่างๆ นี่เองทำให้ร่างกายสำแดงอาการเริ่มตั้งแต่อาการสมองโปร่งโล่งสบายในระยะแรก แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นความรู้สึกคล้ายกับถูกบีบหนักๆ ร่างกายเริ่มผิดเพี้ยน เคลื่อนไหวโซซัดโซเซ ลิ้นก็ชักจะแข็งๆ พูดจาอ้อแอ้หูอื้อตาลายและแดงกล้ำไปด้วยฤทธิ์แอลกอฮอล์บางคนถึงขนาดความจำเสื่อมไปชั่วขณะ
ถ้าดื่มต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ก็จะตามมาติดๆ ด้วยอาการคลื่นไส้อาเจียน และเกิดปฏิกิริยาผิดเพี้ยนอื่นๆ ตามมาอีกนับไม่ถ้วน
ปฏิกิริยาต่อมาเป็นกระบวนการต่อเนื่องจากปฏิกิริยาแรก ส่งผลให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลง ปกติเซลล์สมองจะมีกลไกป้องกันตัวเอง โดยการเปลี่ยนแปลงผนังเซลล์ให้หนามากพอ ที่จะไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้ามาทำลาย
ดังนั้นเมื่อแอลกอฮอล์เดินทางมาสู่สมองเซลล์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อป้องกันตัวเองอยู่ตลอดเวลา จนเกิดผลของอาการเมาค้างตามมาในที่สุด
ปฏิกิริยาสุดท้ายเป็นกระบวนการแห้งเหือดของน้ำหรือของเหลวภายในร่างกาย แอลกอฮอล์เป็นสารที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยของเหลวในร่างกาย โดยดูดซึมและขับถ่ายในรูปปัสสาวะและยังขับสารอาหารสำคัญๆ ออกมาอีกด้วย ในร่างกายจึงมีสารบางชนิดหลงเหลืออยู่ในปริมาณต่ำสุด เช่น แมกนีเซียม โปแตสเซียม รวมไปถึงวิตามินต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 6 และวิตามินซี เป็นต้น
ปัญหาของแอลกอฮอล์
ในประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้เสียชีวิตด้วยพิษแอลกอฮอล์ปีละ 150,000 คน เป็นสาเหตุการตายที่มากเป็นอันดับสาม รองจากบุหรี่ และการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด
ทุกปีเด็กทารก 12,000 คน ที่เกิดจากมารดาที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด จะมีปัญหาสุขภาพและปัญหาด้านสติปัญญา
การดื่มสุราในวัยรุ่น
การดื่มสุราในวัยรุ่นเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่ง ที่นำมาซึ่งความเสียอกเสียใจของพ่อแม่ผู้ปกครอง ตลอดจนตัววัยรุ่นเองก็ตาม
ปัญหาที่เกิดขึ้นที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ การสนุกสนานเกินขอบเขตจนเกิดการทะเลาะวิวาททั้งส่วนตัวหรือระหว่างกลุ่ม ซึ่งวัยรุ่นมีเลือดรักเพื่อนพ้องอย่างรุนแรง
ปัญหาการศึกษาเล่าเรียนเนื่องมาจากไปหมกหมุ่นอยู่กับการเที่ยวเตร่ การดื่มสุรา โดยเฉพาะเวลาดึกดื่นค่ำคืนไม่มีเวลาให้กับการทบทวนบทเรียน
ปัญหาเรื่องอุบัติเหตุจากการจราจรที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุราในวัยรุ่น ปัจจุบันมีมากขึ้นเรื่อยๆ บางรายรุนแรงจนถึงแก่ชีวิต บางรายกลายเป็นคนพิการตลอดชีวิตตั้งแต่อายุน้อยๆ บางรายใช้เวลารักษาเป็นปีๆ ต้องออกจากโรงเรียน หมดอนาคตที่คาดหวังว่าจะรุ่งเรือง เป็นภาระของพ่อแม่พี่น้อง ผู้ปกครองที่จะต้องดูแลช่วยเหลือ เป็นภาระของสังคมและของรัฐบาลที่จะต้องหาทางช่วยเหลือ ให้มีโอกาสทางสังคมดีขึ้น
ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งโดยปกติวัยรุ่นเป็นวัยที่อยู่ในระยะของการศึกษาเล่าเรียน ไม่มีรายได้จากการทำงาน เว้นแต่เงินที่พ่อแม่ผู้ปกครองให้ใช้จ่าย การดื่มสุราย่อมต้องใช้เงินมากขึ้น และจะเกิดปัญหาขึ้นได้กับครอบครัวที่ไม่มีรายได้มากนัก สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ปัญหาของเรื่องอาชญากรรม ลักเล็กขโมยน้อย จนกระทั่งการปล้นจี้ก็เกิดขึ้นได้ เพื่อให้มีเงินเอาไปใช้จ่ายเที่ยวเตร่ ดื่มสุราฮาเฮเช่นที่เคยปฏิบัติมา
ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับการใช้สุรา
สุราเป็นปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว คิดเป็น 3.84 เท่าของครอบครัวที่ไม่มีปัญหาเรื่องสุรา พิจารณาจากฐานะทางสังคมของประเทศอ่อนแอลง เด็กและเยาวชนมีปัญหายาเสพติด เด็กยกพวกตีกัน สามีภรรยาทะเลาะทุบตีกันเพราะเหล้า ควรเน้นการสร้างสันติสุขในครอบครัว ซึ่งแนวทางโดยรวมคือการสร้างให้ทุกคนรักกันและกัน ถ้าคนเรารักกันความรุนแรงจะไม่เกิด ปัญหาสังคม พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศลดลง
ผลการวิจัยความรุนแรงในครอบครัว พบครอบครัวดื่มสุรามีความรุนแรงเกิดขึ้นเกือบ 4 เท่า ของครอบครัวที่ไม่ดื่ม ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มีแนวโน้มน่าเป็นห่วง สถิติหย่าร้างพุ่งกว่า 60,000 รายต่อปี
ข้อมูลจากองค์กรนิรโทษกรรมสากล พบว่ามีผู้หญิงทั่วโลกถูกกระทำรุนแรงปีละ 120 ล้านคน
ผู้หญิงไทยถูกทุบตีทำร้ายจากสามีหรือคู่รักร้อยละ 20-50 ในปี 2544 มีผู้หญิงขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิผู้หญิง 217 คน แยกเป็นความรุนแรงในชีวิตคู่ 103 ราย หรือร้อยละ 47 ช่วงเดียวกันมูลนิธิผู้หญิงรับแจ้งการใช้ความรุนแรงในชีวิตคู่รวม 228 กรณี ในจำนวนนี้ร้อยละ 72 เป็นการทำร้ายกันหรือทำร้ายตนเองจนถึงชีวิต
สถิติความรุนแรงในครอบครัวพบว่าร้อยละ 39 เป็นสามีฆ่าภรรยา ร้อยละ 14 ภรรยาฆ่าสามี ภรรยาฆ่าตัวตายร้อยละ 5 แม่ฆ่าลูกร้อยละ 6 พ่อฆ่าลูกร้อยละ 7
ข้อมูลจากการศึกษาปัจจัยก่อความรุนแรงในครอบครัวโดยเก็บข้อมูลใน 7 ชุมชนกึ่งแออัดในกรุงเทพฯ จำนวน 578 ครอบครัว พบว่า 159 ครอบครัว หรือร้อยละ 27.5 มีความรุนแรงในจำนวนนี้ 133 ครอบครัว ใช้เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ คณะทำงานจึงควบคุมปัจจัยแวดล้อมให้เหมือนกัน เก็บข้อมูลเปรียบเทียบ 100 ครอบครัว ที่ใช้เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์และ 100 ครอบครัวที่ไม่ใช้เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ พบว่าครอบครัวที่มีความรุนแรงใช้สุราร้อยละ 83.6
สถานการณ์สุราในประเทศไทย
รายงานผลการวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่า ผลกระทบการที่รัฐเปิดเสรีตลาดการผลิตสุราทำให้โอกาสควบคุมผู้ผลิตสุราเป็นไปได้ยาก เนื่องจากแหล่งผลิตมีอยู่กระจัดกระจายมากขึ้น และรัฐไม่สามารถควบคุมกำลังการผลิตได้ ทำได้เพียงการขึ้นภาษี ซึ่งไม่อาจควบคุมความต้องการบริโภคได้ เพราะมีปัญหาเรื่องสุราเถื่อนที่ทดแทนกันได้
ทำให้นอกจากจะควบคุมปริมาณการผลิตไม่ได้ ยังควบคุมการบริโภคไม่ได้ด้วย
ปัญหาสุรานำเข้าจากประเทศแถบอาเซียน ที่ปัจจุบันอาศัยช่องทางภาษีจากข้อตกลงอาฟต้าในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เก็บภาษีไม่เกินร้อยละ 5 ทำให้สุราจากประเทศนอกเขต ตกลงใช้ช่องทางนำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย สุราต่างประเทศจึงมีราคาถูกลง
โดยตลาดสุราในประเทศขณะนี้ ส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 72 คือเหล้าขาว ซึ่งผู้บริโภคคือประชาชนระดับรากหญ้าที่มีรายได้น้อยเป็นส่วนใหญ่
แก้ไขปัญหาตามหลักพุทธธรรม
วิถีชีวิตที่ดีเป็นแนวทางเพื่อถึงนิพพาน แต่วิถีชีวิตที่สวนทางนิพพาน จึงเป็นชีวิตที่ประกอบด้วยปัญหาเป็นชีวิตที่ไม่ดี ความดับแห่งปัญหาจึงเป็นหลักการตัดสินความดีและความชั่ว โดยเฉพาะการงดเว้นจากเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการเสพสุราเมรัยและของเมา อันศีลข้อที่ 5 ซึ่งเป็นหนทางดำเนินสู่ความหมดทุกข์
องค์ประกอบภายนอกได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางสังคม หมายถึง การมีกัลยาณมิตร
องค์ประกอบภายใน กระบวนการคิดหรือวิธีการคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ หมายถึง โยนิโสมนสิการ การคิดเป็น การมีวิธีคิดเป็น ซึ่งถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง
แก้ไขปัญหาส่วนภายใน โดยแก้ที่กิเลส 3 กอง ความอยากมีและอยากเป็น ความโลภ แก้ที่ความผูกโกรธ ความพยาบาท ความอาฆาตเป็นความโกรธ และแก้ที่ความประมาทพลั้งพลาด ความไม่รู้จริง เป็นความหลง โดยมีฉันทะ ความพอใจชอบใจเป็นพื้นฐานมีอวิชชามูลเหตุแห่งปัญหาทั้งสิ้นแล้ว สร้างภูมิคุ้มกันจิตด้วยอุบายสงบใจ และอุบายเรืองปัญญา ฝึกอบรมภาวนาเป็นยารักษาจิตคุ้มครองใจ
แก้ที่สิ่งแวดล้อมทั้งหลายที่แวดล้อมตัวเราอยู่ โดยที่เราเป็นศูนย์กลางมีกัลยาณมิตรเป็นเครื่องนำทาง และเป็นเครื่องชี้หนทางสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้
ความไม่ประมาท การไม่อยู่ปราศจากสติ บรรดากุศลธรรมทั้งหลาย มีความไม่ประมาทเป็นมูล เรียกว่า เป็นยอดของกุศลธรรมทั้งหลาย ฉะนั้น ความไม่ประมาท จึงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่ดีทางสังคมและเศรษฐกิจตามหลักพุทธธรรมที่ว่า ละชั่วทางกาย วาจาและใจ ตลอดถึงละความเห็นผิดแล้วปฏิบัติดีทางกาย วาจาและใจตลอดถึงทำความเห็นให้ถูก เพราะบรรดาคุณความดีทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นเพราะมีความไม่ประมาทเป็นมูล
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

ผู้ทำ นางสาวสุวรรณี วารินกุด

เรื่องทั่วไป

แอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์เป็นของเหลวไม่มีสี แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มมึนเมาคือเอธิลแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มมึนเมาชนิดต่างๆ เช่น เหล้า เบียร์ วิสกี้ บรั่นดี จะมีปริมาณของเอธิลแอลกอฮอล์แตกต่างกัน เอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการแปรรูปจากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น อ้อย ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฤทธิ์ในทางเสพติดของแอลกอฮอล์คือ ออกฤทธิ์กดประสาท มีการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งเบียร์และสุราเป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีคุณค่าทางอาหารต่ำแต่มีแคลอรี่สูง เบียร์แตกต่างจากสุราที่ปริมาณแอลกอฮอล์และกรรมวิธีในการผลิต เบียร์ทำโดยการหมักข้าวบาร์เลย์งอกโดยไม่ได้กลั่น มีปริมาณแอลกอฮอล์น้อย ประมาณ 4 - 6% โดยปริมาตร ส่วนสุราชนิดต่าง เช่น วิสกี้ บรั่นดี วอดก้า แม่โขง เป็นเหล้าชนิดกลั่นมีปริมาณแอลกอฮอล์สูงกว่า ประมาณ 40 - 50% โดยปริมาตร
แอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักส่าจะเป็นเอธิลแอลกอฮอล์ประมาณ 9-10% การกลั่นแยกแอลกอฮอล์จากส่าทำได้โดยอาศัยความร้อนจากไอน้ำ เพื่อแยกเอาแอลกอฮอล์ซึ่งมีจุดเดือดต่ำกว่าน้ำให้ระเหยกลายเป็นไอ แล้วจึงนำไอแอลกอฮอล์ที่ได้ส่งเข้าเครื่องควบแน่นทำให้ไอเป็นของเหลว จุดเดือดของแอลกอฮอล์อยู่ที่ 78.3 ํซ. ส่วนจุดเดือดของน้ำเท่ากับ 100 ํซ. การให้ความร้อนแก่น้ำส่าด้วยไอน้ำทำให้แอลกอฮอล์ในน้ำส่าระเหยกลายเป็นไอ แต่ก็จะมีน้ำระเหยปนขึ้นมาพร้อมกับไอแอลกอฮอล์ด้วย ซึ่งความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในไอจะเข้มข้นกว่าในของเหลว การที่จะกลั่นให้ได้แอลกอฮอล์เปอร์เซ็นต์สูง ๆ นั้น ต้องทำให้แอลกอฮอล์ระเหยและควบแน่นหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งความเข้มข้นของแอลกอฮอล์จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ภายในหอกลั่นจึงทำเป็นหลายชั้น แต่ละชั้นเหมือนกับการทำให้ระเหยและควบแน่นหนึ่งครั้ง การกลั่นโดยใช้หอกลั่นจึงทำให้ได้แอลกอฮอล์ความเข้มข้นสูงได้โดยกลั่นเพียงครั้งเดียว แต่ก็ไม่สามารถกลั่นให้ได้ความเข้มข้นถึง 100% เพราะเมื่อกลั่นจนแอลกอฮอล์ประมาณ 96% ความเข้มข้นของไอแอลกอฮอล์ที่ระเหยออกมาจากของเหลวจะเท่ากับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในของเหลว จึงทำให้ไม่สามารถกลั่นแยกแอลกอฮอล์ให้ได้ความเข้มข้นถึง 100% ได้
การดื่มเหล้าดองจะมีโทษจากการที่ดื่มแอลกอฮอล์นั่นเอง เหล้าที่ใช้ในการดองยา คือเหล้าขาว เหล้าจีน ซึ่งมีปริมาณแอลกอฮอล์สูง ถ้าดื่มในปริมาณน้อยๆ จะให้เจริญอาหารและช่วยให้ย่อยอาหารดีขึ้น ถ้าดื่มมากเกินไปจะระคายเคืองกระเพาะอาหาร และอาจเกิดกระเพาะอักเสบหรือเป็นแผลในกระเพาะ นอกจากนี้หญิงหลังคลอดจะมีอัตราการเปลี่ยนสภาพแอลกอฮอล์และขจัดแอลกอฮอล์ได้น้อยเพราะตับทำงานได้น้อยกว่าคนปกติ อาจเกิดอันตรายจากระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่สูงเกินไป และอาจเกิดการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ อาจเกิดเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง นอกจากนั้นการใช้เหล้าดองสมุนไพรนานๆ อาจสกัดเอาสารที่ไม่มีประโยชน์หรืออาจเป็นพิษออกมาด้วย
ถ้าดื่มมากๆ จะกัดกระเพาะอาหารเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ความรู้สึกนึกคิดผิดไป ควบคุมตนเองไม่ได้ ไม่สามารถยับยั้งตนเองจึงอาจแสดงอาการบางอย่างออกมา เช่น ดุร้าย ทะเลาะวิวาท พูดมาก นอกจากนี้ยังมีอาการหน้าแดง ตัวแดง ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นแรง ปัสสาวะบ่อย ถ้าดื่มมากขึ้นอีกจะทำให้การรับรส กลิ่น เสียง และสัมผัสลดลง คนที่เสพติดแอลกอฮอล์หรือคนที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง จะมีใบหน้าบวมฉุ หน้าแดง ตาแดง ผิวหนังคล้ำ มือสั่น ลมหายใจมีกลิ่นแอลกอฮอล์ โทษที่ได้รับจากการดื่มเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้เกิดโรคพิษสุราเรื้อรัง ทำลายตับและสมอง สติปัญญาเสื่อม ควบคุมตัวเองไม่ได้ จิตใจผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย เป็นตะคริว ปลายมือปลายเท้าชา กระเพาะอาหารอักเสบ เบื่ออาหาร ร่างกายซูบผอม และอาจเกิดโรคตับแข็งถ้าเสพติดมาก และไม่ได้เสพจะมีอาการกระวนกระวาย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว อารมณ์ฉุนเฉียว อาจมีอาการชักประสาทหลอน เป็นโรคจิต และถ้าดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับยาที่กดประสาท เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท จะเสริมฤทธิ์กันทำให้มีอันตรายมากขึ้นได้
ปฏิกิริยาแรกที่เกิดขึ้นทันทีที่ดื่มเหล้าแล้วแอลกอฮอล์เข้าสู่ตับเอนไซม์ในตัวคนเราจะเปลี่ยนแอลกอฮอล์เป็นสารตัวใหม่ ชื่ออะเซ็ตทัลดีไฮด์ (acetaldehyde) แล้วเปลี่ยนต่อเป็นอะซิเทต (acetate) แล้วเคลื่อนตัวไปยังสมองของต่อมควบคุมระดับเกลือและน้ำตาลในร่างกาย รวมไปถึงอวัยวะต่างๆ อีกมากมายหลายส่วน ผลจากการเคลื่อนตัวไปยังส่วนต่างๆ นี่เองทำให้ร่างกายสำแดงอาการเริ่มตั้งแต่อาการสมองโปร่งโล่งสบายในระยะแรก แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นความรู้สึกคล้ายกับถูกบีบหนักๆ ร่างกายเริ่มผิดเพี้ยน เคลื่อนไหวโซซัดโซเซ ลิ้นก็ชักจะแข็งๆ พูดจาอ้อแอ้หูอื้อตาลายและแดงกล้ำไปด้วยฤทธิ์แอลกอฮอล์บางคนถึงขนาดความจำเสื่อมไปชั่วขณะ ถ้าดื่มต่อไปอย่างยั้งไม่หยุดก็จะตามมาติดๆ ด้วยอาการคลื่นไส้อาเจียน และเกิดปฏิกิริยาผิดเพี้ยนอื่นๆ ตามมาอีกนับไม่ถ้วน
ปฏิกิริยาต่อมาเป็นกระบวนการต่อเนื่องจากปฏิกิริยาแรก ส่งผลให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลง ปกติเซลล์สมองจะมีกลไกป้องกันตัวเอง โดยการเปลี่ยนแปลงผนังเซลล์ให้หนามากพอ ที่จะไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้ามาทำลาย ดังนั้นเมื่อแอลกอฮอล์เดินทางมาสู่สมองเซลล์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อป้องกันตัวเองอยู่ตลอดเวลา จนเกิดผลของอาการเมาค้างตามมาในที่สุด และปฏิกิริยาสุดท้ายเป็นกระบวนการแห้งเหือดของน้ำหรือของเหลวภายในร่างกายเพราะแอลกอฮอล์เป็นสารที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยของเหลวในร่างกาย โดยดูดซึมและขับถ่ายในรูปปัสสาวะและยังขับสารอาหารสำคัญๆ ออกมาอีกด้วย ในร่างกายเหล่านี้หลงเหลืออยู่ในปริมาณต่ำสุด เช่น แมกนีเซียม โปตัสเสียม รวมไปถึงวิตามินต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 6 วิตามินซี เป็นต้น
ทางช่วยเหลือผู้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังมีได้หลายวิธี เช่น การรักษาด้วยยา แพทย์อาจสั่งยาไดซัลฟิแรม (Disulfiram) หรือ แอนตาบิวส์ (Antabuse) ให้กินเป็นประจำทุกวันซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ หน้าแดง และอาการที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่างเมื่อดื่มสุราเข้าไป วิธีนี้มักใช้ได้ผลกับผู้ที่มีความมุ่งมั่นจะเลิกสุราโดยเด็ดขาด จิตบำบัดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้บำบัดอย่างได้ผล คนที่ติดสุรานอกจากจะเอาชนะอาการทางกายแล้วยังจะต้องต่อสู้กับปัญหาทางจิตใจด้วย ผู้ป่วยอาจจะต้องไปพบนักจิตบำบัด เพื่อขอความช่วยเหลือเฉพาะกรณีไป ผู้ที่ติดสุราอย่างรุนแรงอาจจำเป็นต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อบำบัดอาการที่เกิดขึ้นจากการเลิกสุราและฟื้นฟูสุขภาพในระยะยาว ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาตัว อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ป่วยแต่ละราย หลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว ผู้ป่วยมักจะได้รับการนัดหมายจากแพทย์ให้มาตรวจที่โรงพยาบาลอีก เพื่อติดตามอาการอย่างต่อเนื่องไปสักระยะหนึ่ง

ที่มาhttp://www.bangkokhealth.com/drugs_htdoc/drugs_health_detail.asp?Number=9490

ผู้ทำนางสาวสุวรรณี วารินกุด

ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการติดแอลกอฮอล์

ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการติดแอลกอฮอล์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง สารแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์เป็นสารที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดการเสพติดได้ โดยแอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความอยาก การเสพติดเป็นวงจรของสมองที่เกี่ยวกับความอยาก ความพึงพอใจ ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับการ ติดสารเสพติด ทำให้ผู้เสพเกิดความพอใจ และมีความต้องการใช้ซ้ำอีก หักห้ามใจไม่ได้ ซึ่งนำไปสู่การติดในที่สุด และในหลายๆครั้ง ทำให้มีการกลับไปใช้สารนี้ใหม่อีก เพราะความอยาก ปัญหาของการเลิกแอลกอฮอล์จึงไม่ได้ "อยู่ที่ใจ" เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องการทำงานของสมองในส่วนของวงจรนี้ร่วมด้วย นอกจากนี้ เมื่อได้มีการบริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณและในระยะเวลาหนึ่ง จะทำให้เกิดอาการติด "ทางร่างกาย" เกิดขึ้นนั่นคือ เมื่อหยุดดื่ม หรือเพียงแค่ลดปริมาณการดื่มลง ก็จะทำให้เกิดอาการต่างๆเหล่านี้ได้ เช่น กระสับกระส่าย หงุดหงิด นอนไม่หลับ ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน บางรายมีอาการรุนแรง เช่น เกิดภาพหลอน ได้ยินเสียงแว่ว สับสน และมีอาการชักร่วมด้วย ทำให้ต้องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อระงับอาการเหล่านี้ กรรมพันธุ์ ในปัจจุบัน พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างกรรมพันธุ์กับการติดแอลกอฮอล์ดังนี้ - ญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง) ของผู้ติดแอลกอฮอล์ มีโอกาสเสี่ยงสูงประมาณ ๓ - ๔ เท่า ต่อการที่จะเป็นผู้ติดแอลกอฮอล์ - คนที่เป็นแฝดไข่ใบเดียวกัน จะมีความเสี่ยงสูงต่อการติดแอลกอฮอล์ ถ้าแฝดคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ที่ติดแอลกอฮอล์ เมื่อเทียบกับคนที่เป็นแฝดแบบไข่คนละใบ - ในกรณีที่ลูกมีพ่อหรือแม่แท้ๆเป็นคนติดแอลกอฮอล์ แต่ได้รับการรับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมมาตั้งแต่ยังเล็กๆโดยครอบครัว อื่นซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องการติดแอลกอฮอล์ และไม่ทราบว่าพ่อแม่แท้ๆของตนติดแอลกอฮอล์เลย ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นคนติดแอลกอฮอล์ได้สูงมากถึง ๔ เท่า ของคนทั่ว ไป ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ชัดเจนมากว่า กรรมพันธุ์มีส่วนอย่างมาก และมากกว่าสิ่งแวดล้อมต่อการเกิดปัญหาการติดแอลกอฮอล์ ปัจจัยทางชีวภาพอื่นๆ พบว่า ในคนที่มีการตอบสนองต่อแอลกอฮอล์ในลักษณะที่ดื้อต่อฤทธิ์ของสารนี้ อาจต้องบริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากกว่าเกณฑ์เฉลี่ย จึงจะทำให้เกิดอาการมึนเมาได้ คนกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงมากที่จะกลายเป็นคนติดแอลกอฮอล์เมื่อมีอายุมากขึ้น บุคลิกภาพ บุคคลที่มีลักษณะบุคลิกภาพแบบประหม่า วิตกกังวล ไม่มั่นใจ และถ้าการบริโภคแอลกอฮอล์ช่วยทำให้สิ่งเหล่านี้หายไป เช่น ทำให้รู้สึกกล้า และมั่นใจมากขึ้น จะเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม เช่น ชอบความ ก้าวร้าว รุนแรง ไม่เกรงใจ และไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น ไม่รู้สึกผิดในสิ่งที่ตนเองกระทำต่อผู้อื่น ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นคนติดแอลกอฮอล์เช่นกัน

ที่มา http://guru.sanook.com/search/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%8C

ผู้ทำ นางสาวสุวรรณี วารินกุด

ผลของการติด 2

ถ้าคุณแม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์

อย่าลืมว่าทุกครั้งที่คุณดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ก็กำลังดื่มไปกับคุณด้วย ซึ่งมีข้อมูลที่พิสูจน์แล้วว่าการดื่มสุราเป็นประจำเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ทั้งนี้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่คุณแมดื่มเข้าไปนั้น จะเข้าสู่ทารกโดยตรงผ่านทางรก คุณอาจต้องตกใจเมื่อรู้ว่าระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของทารกในครรภ์จะสูงพอๆ กับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ดื่มสุราเข้าไป แต่ทารกกลับต้องใช้เวลาในการขับสารพิษนี้ออกจากร่างกายมากกว่าถึงสองเท่า

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์ส่งผลระยะยาวต่อทารกในครรภ์อย่างไร
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 2 แก้ว ( unit) ต่อวันจะทำให้ทารกในครรภ์มีโอกาสเสี่ยงที่จะประสบปัญหาด้านการเรียนรู้ การพูด สมาธิ ภาษา และอาจเป็นโรคสมาธิสั้นได้ อันตรายดังกล่าวนี้เรียกว่า ผลกระทบต่อทารกในครรภ์อันเกิดจากการที่มารดาดื่มสุราในระหว่างตั้งครรภ์ (Foetal Alcohol Effects หรือ FAE)
ในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 6 แก้วต่อวัน ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่ทารกจะเกิดอาการความผิดปกติแต่กำเนิด ( Foetal Alcohol Syndrome หรือ FAS) ซึ่งอาจทำให้ทารกมีพัฒนาการล่าช้าทั้งทางร่างกายและสมอง มีปัญหาด้านพฤติกรรม เกิดความผิดปกติที่ใบหน้า และความบกพร่องของระบบหัวใจ
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเริ่มแรกของการตั้งครรภ์
จริงๆ แล้วบรรดานักวิจัยก็ยังไม่ทราบแน่ชัดนักว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อยในช่วงเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือไม่ มีผู้หญิงหลายคนที่ดื่มเป็นประจำก่อนจะรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ (และทารกที่คลอดออกมาก็แข็งแรงสมบูรณ์ดี)
อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของคุณและทารก ทันทีที่คุณทราบว่ากำลังตั้งครรภ์ ก็ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภท และหากคุณกำลังวางแผนว่าจะตั้งครรภ์ ก็ย่อมเป็นการดีถ้าคุณตัดสินใจเลิกดื่มอย่างเด็ดขาดก่อนจะสายเกินไป เพื่อจะได้ไม่ต้องรู้สึกกังวลใจในภายหลัง
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หนึ่งแก้ว ( unit) หมายถึงเท่าไร หากคุณชอบไปงานเลี้ยงที่บ้านเพื่อน เตือนตัวเองไว้เสมอเลยว่า เพื่อนมักยินดีเติมเครื่องดื่มให้ไม่เคยขาด ยิ่งไปกว่านั้นแก้วเหล้าที่นิยมใช้กันก็มักจะใหญ่กว่าแก้วที่เสิร์ฟกันในผับเสียด้วย
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หนึ่งแก้ว (unit) หมายถึง
เบียร์ธรรมดา เบียร์ลาเกอร์ หรือไซเดอร์ ½ ไพนท์
สตรองเบียร์ ¼ ไพนท์
ไวน์ 1 แก้วเล็ก
สุรากลั่น (สปิริต) 1 หน่วยตวง
เหล้าองุ่น ( Sherry) 1 ถ้วยตวง


ที่มา : http://www.dumex.co.th/pregnancy/nutrition_and_health/article/Alcohol
ผู้ทำ : กมลชนก

22 พฤศจิกายน 2551

วิธีแก้ไข 2

ทางช่วยเหลือผู้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังมีได้หลายวิธี
เช่น การรักษาด้วยยา แพทย์อาจสั่งยาไดซัลฟิแรม (Disulfiram) หรือ แอนตาบิวส์ (Antabuse) ให้กินเป็นประจำทุกวันซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ หน้าแดง และอาการที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่างเมื่อดื่มสุราเข้าไป วิธีนี้มักใช้ได้ผลกับผู้ที่มีความมุ่งมั่นจะเลิกสุราโดยเด็ดขาด จิตบำบัดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้บำบัดอย่างได้ผล คนที่ติดสุรานอกจากจะเอาชนะอาการทางกายแล้วยังจะต้องต่อสู้กับปัญหาทางจิตใจด้วย ผู้ป่วยอาจจะต้องไปพบนักจิตบำบัด เพื่อขอความช่วยเหลือเฉพาะกรณีไป ผู้ที่ติดสุราอย่างรุนแรงอาจจำเป็นต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อบำบัดอาการที่เกิดขึ้นจากการเลิกสุราและฟื้นฟูสุขภาพในระยะยาว ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาตัว อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ป่วยแต่ละราย หลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว ผู้ป่วยมักจะได้รับการนัดหมายจากแพทย์ให้มาตรวจที่โรงพยาบาลอีก เพื่อติดตามอาการอย่างต่อเนื่องไปสักระยะหนึ่ง

ที่มา : http://www.bangkokhealth.com/drugs_htdoc/drugs_health_detail.asp?Number=9490

ผู้ทำ : กมลชนก

ผลของการติด 1

ถ้าดื่มมากๆ จะกัดกระเพาะอาหารเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ความรู้สึกนึกคิดผิดไป
ควบคุมตนเองไม่ได้ ไม่สามารถยับยั้งตนเองจึงอาจแสดงอาการบางอย่างออกมา เช่น ดุร้าย ทะเลาะวิวาท พูดมาก นอกจากนี้ยังมีอาการหน้าแดง ตัวแดง ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นแรง ปัสสาวะบ่อย ถ้าดื่มมากขึ้นอีกจะทำให้การรับรส กลิ่น เสียง และสัมผัสลดลง คนที่เสพติดแอลกอฮอล์หรือคนที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง จะมีใบหน้าบวมฉุ หน้าแดง ตาแดง ผิวหนังคล้ำ มือสั่น ลมหายใจมีกลิ่นแอลกอฮอล์ โทษที่ได้รับจากการดื่มเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้เกิดโรคพิษสุราเรื้อรัง ทำลายตับและสมอง สติปัญญาเสื่อม ควบคุมตัวเองไม่ได้ จิตใจผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย เป็นตะคริว ปลายมือปลายเท้าชา กระเพาะอาหารอักเสบ เบื่ออาหาร ร่างกายซูบผอม และอาจเกิดโรคตับแข็งถ้าเสพติดมาก และไม่ได้เสพจะมีอาการกระวนกระวาย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว อารมณ์ฉุนเฉียว อาจมีอาการชักประสาทหลอน เป็นโรคจิต และถ้าดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับยาที่กดประสาท เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท จะเสริมฤทธิ์กันทำให้มีอันตรายมากขึ้นได้

ปฏิกิริยาแรกที่เกิดขึ้นทันทีที่ดื่มเหล้าแล้วแอลกอฮอล์เข้าสู่ตับเอนไซม์ในตัวคนเราจะเปลี่ยนแอลกอฮอล์เป็นสารตัวใหม่ ชื่ออะเซ็ตทัลดีไฮด์ (acetaldehyde)
แล้วเปลี่ยนต่อเป็นอะซิเทต (acetate) แล้วเคลื่อนตัวไปยังสมองของต่อมควบคุมระดับเกลือและน้ำตาลในร่างกาย รวมไปถึงอวัยวะต่างๆ อีกมากมายหลายส่วน ผลจากการเคลื่อนตัวไปยังส่วนต่างๆ นี่เองทำให้ร่างกายสำแดงอาการเริ่มตั้งแต่อาการสมองโปร่งโล่งสบายในระยะแรก แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นความรู้สึกคล้ายกับถูกบีบหนักๆ ร่างกายเริ่มผิดเพี้ยน เคลื่อนไหวโซซัดโซเซ ลิ้นก็ชักจะแข็งๆ พูดจาอ้อแอ้หูอื้อตาลายและแดงกล้ำไปด้วยฤทธิ์แอลกอฮอล์บางคนถึงขนาดความจำเสื่อมไปชั่วขณะ ถ้าดื่มต่อไปอย่างยั้งไม่หยุดก็จะตามมาติดๆ ด้วยอาการคลื่นไส้อาเจียน และเกิดปฏิกิริยาผิดเพี้ยนอื่นๆ ตามมาอีกนับไม่ถ้วน


ปฏิกิริยาต่อมาเป็นกระบวนการต่อเนื่องจากปฏิกิริยาแรก
ส่งผลให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลง ปกติเซลล์สมองจะมีกลไกป้องกันตัวเอง โดยการเปลี่ยนแปลงผนังเซลล์ให้หนามากพอ ที่จะไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้ามาทำลาย ดังนั้นเมื่อแอลกอฮอล์เดินทางมาสู่สมองเซลล์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อป้องกันตัวเองอยู่ตลอดเวลา จนเกิดผลของอาการเมาค้างตามมาในที่สุด และปฏิกิริยาสุดท้ายเป็นกระบวนการแห้งเหือดของน้ำหรือของเหลวภายในร่างกายเพราะแอลกอฮอล์เป็นสารที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยของเหลวในร่างกาย โดยดูดซึมและขับถ่ายในรูปปัสสาวะและยังขับสารอาหารสำคัญๆ ออกมาอีกด้วย ในร่างกายเหล่านี้หลงเหลืออยู่ในปริมาณต่ำสุด เช่น แมกนีเซียม โปตัสเสียม รวมไปถึงวิตามินต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 6 วิตามินซี เป็นต้น

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
ผู้ทำ : กมลชนก